การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1
Keywords:
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, ทักษะงานช่างพื้นฐาน, โรงเรียนขยายโอกาสทางศึกษา, Instruction model, Basic technical Skills, Expand educationalAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 316 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม 2) กลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 การเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก จำนวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีการพัฒนาทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการเรียนการสอนยังขาดการเชื่อมโยงกิจกรรม การเรียนรู้กับรายวิชาอื่นๆ การแสวงหาความรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีอยู่ในระดับน้อย มีความต้องการพัฒนาทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเรียนการสอนทักษะงานช่างพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นแบบแผนจำลองที่เป็นเอกสารมี 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์งาน แผนการจัดการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียนรู้ และสื่อ/แหล่งเรียนรู้ระบบเครือข่าย 3) นักเรียนกลุ่มทดลองตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลการทดลองอยู่ในระดับดี 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลการประเมินทักษะงานช่างพื้นฐานระหว่างก่อนทดลองกับหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการประเมินหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน
The purposes of this study were to study the problem and the needs to develop a model for teaching high school students in expand educational opportunities schools, create and find quality of the model, investigate the efficiency of the model, and evaluate the instruction. The subjects were 316 students selected by means of Taro Yamane, 30 Grade 8 students of Wat Juntawan-ook School selected by purposive sampling. The research was divided into four stages: studying basic data, creating and developing the instruction, testing the Instruction model, and evaluating the instruction. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and t-test. The findings showed that the problems were that the students lacked linking learning activities with others, that they acquired knowledge through media technology at a low level, and that basic technical skills were needed at a high level. In addition, the model contained 5 essential components: a manual, job analysis, learning management plan, learning materials, and media/network resources. The result of the trial out showed that students’ performance was at a good level. There was a significant difference between the pre and post test scores at .01. However, and the results of the assessment after the experiment and the follow-up were not different.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.