การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของ โรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Keywords:
ตัวบ่งชี้, การบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนเอกชน, Indicator, Academic administration, Private schoolAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจัดทำตัวบ่งชี้เชิงทฤษฎีโดยการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน แล้วรวบรวมสังเคราะห์เป็นตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล และขั้นตอนการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 410 โรงเรียน จำนวน 820 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ มีลักษณะเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของข้อมูลที่จะมาวิเคราะห์องค์ประกอบ คือ ค่า Bartlett test of Sphericity และ ค่า Measure of Sampling Adequacy (MSA) และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่พัฒนากับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ของโรงเรียนเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกได้เป็น 4 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย 66 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การพัฒนานโยบายงานวิชาการ มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย 18 ตัวบ่งชี้ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีจำนวน 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ ด้านการนิเทศงานวิชาการ มีจำนวน 3 องค์ประกอบย่อย 14 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ พิจารณาจากค่าสถิติดังนี้ คือ = 12.84 df = 15 p-value = 0.6149 /df = 0.856 GFI = 1.00 AGFI = 0.98 CFI = 1.00 Standardized RMR = 0.047 RMSEA = 0.00 และ Critical N = 1631.15 โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
This study was designed 1) to create and develop the indicators of academic administration effectiveness of private school basic educational level in the Northeastern region, and 2) to test the goodness of fit for the structural model indicators with the empirical data. There are two phases in this study. The first phases was documentary analysis and interviewed with 4 experts who are the school administrators then collected the data and synthesized them for the academic affair administration indicators. The second phase was the test of the structural model’s goodness of fit with the empirical data. The samples were 820 administrators and teachers from 410 private schools which multi-stage sampling was applied. The research instruments for data collection consisted of an interview and 5-point rating scale questionnaire. Computer instant program was applied for data analysis to obtain mean, standard deviation then Bartlett test of Sphericity and measure of sampling adequacy (MSA) were used for the appropriateness of the data for factor analysis. Computer instant program was used for confirmatory factor analysis and checking the consistency of developed model and the empirical data. The findings of this study were summarized as follows: 1) The results of the indicator formation and development found the indicators of academic administration effectiveness of private school classified into 4 core factors, 14 sub factors and 66 indicators. They are Development of Academic Policy with 3 sub factors and 14 indicators; School Curriculum Administration with 4 sub factors and 18 indicators; Learning Process Development with 4 sub factors and 20 indicators; and the last one is Academic Affairs Supervision with 3 sub factors and 14 indicators. 2) The goodness of fit test of the indicators’ confirmatory factor analysis model found the models which developed were fit to the empirical data following the hypotheses and based on the statistics as follows : = 12.84, df = 15, p-value = 0.6149, /df = 0.856, GFI =1.00, AGFI = 0.98, CFI = 1.00, Standardized RMR = 0.047, RMSEA = 0.00 and Critical N = 1631.15
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.