การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านชายเคือง อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

Authors

  • เทพสิริรัตน์ เทพวัง สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์การสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • สกล เกิดผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • วีรพงษ์ อินทร์ทอง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

Keywords:

แบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, English Supplementary Listening Exercise, Cooperative learning

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง“อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านชายเคือง อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 16 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการวิจัยรวมเวลาเรียนจำนวน 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการฟัง (3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการฟัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านชายเคือง อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 89.23/76.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ 2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านชายเคืองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยเฉลี่ยในระดับมาก

The purposes of this study were to develop an English supplementary listening exercise, entitled “ASEAN”, using the Cooperative Learning Theory for Grade 3 students at Banchaikeung School, Bungsamakee District, Kamphaeng Phet Province, based on the efficiency criteria of 75/75, to compare the students’ listening achievement before and after using the practices, and to study the student’s satisfactions with the subjects were 16 Grade 3 students studying Foundation English 3 course at Banchaikeung School, Bungsamakee District, Kamphaeng Phet Province in the second semester of the 2014 Year. The purposive sampling method was used to select the sample group. The duration of the experiment was 18 hours. The research instruments were 1) the English supplementary listening exercise, entitled “ASEAN”, base on the Cooperative Learning Theory, consisting of 6 units, 2) a listening achievement test, and 3) a questionnaire measuring students’ satisfactions with the practices. The data were analyzed for mean, standard deviation, efficiency value, and t-test. The research findings are summarized as follows. 1. The efficiency of the practices was found to be at 89.23/76.68, which exceeds the set criteria of 75/75. 2. Learning achievements of the students after implementing the practices were statistically significant at the .01 level. 3. Satisfactions of the sample group with the practices were generally found to be at the high level.

Downloads

How to Cite

เทพวัง เ., เกิดผล ส., & อินทร์ทอง ว. (2016). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เรื่อง “อาเซียน” โดยใช้หลักทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านชายเคือง อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 194–208. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/65007