การพัฒนาความสามารถด้านการเป็นวิทยากรของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Keywords:
ศูนย์การศึกษาพิเศษ, ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ความสามารถด้านการเป็นวิทยากร, Kamphaengphet, Special Education Center, Trainer abilityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเป็นวิทยากรของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร และศึกษาความพึงพอใจของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร หลังเข้ารับการอบรมพัฒนาความสามารถด้านการเป็นวิทยากร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการประชุม หลักสูตรการฝึกอบรมการเป็นวิทยากร แบบประเมินความสามารถด้านการเป็นวิทยากร และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความสามารถด้านการเป็นวิทยากรในการจัดอบรม มีผลการทดลองแยกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการเป็นวิทยากรโดยเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 พบว่า ความสามารถด้านการเป็นวิทยากรของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว พบว่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการเป็นวิทยากรหลังการอบรม จำนวน 2 ครั้ง พบว่าคะแนน ครั้งที่ 1 หลังจากการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย 83.49 คะแนน ครั้งที่ 2 หลังจากการฝึกอบรม 1 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ย 84.21 เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test dependent) พบว่าคะแนนครั้งที่ 2 สูงกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าความสามารถในการเป็นวิทยากรของคณะครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชรมีความคงทน ผลความพึงพอใจของผู้ผ่านการอบรมการพัฒนาความสามารถด้านการเป็นวิทยากรของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดกำแพงเพชร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.42, S.D.=0.13)
The objectives of this study were to develop the trainer ability, and to find out the satisfaction of teachers in Kamphaengphet Special Education Center after taking training. The samples consisted of 16 teachers from Kamphaengphet Special Education Center. Research instruments involved the record form, the training curriculum, the performance evaluation form and the questionnaire on training satisfaction. The statistics used for the qualitative and quantitative data analysis were mean, standard deviation and t-test. The research results indicated as follows; 1) The comparison between the trainers’ ability and criterions - the trainers’ performance was higher than the criterions. The mean score of t-test type one was higher than the criterions. 2) The comparison of trainers’ ability after taking training- the mean efficiency of the first training was 83.49 and the second was 84.21. The mean score of t-test on the second training was higher than the first training to be significant at the 0.5 level. In consequence, the ability of the trainers was stable. The satisfaction degree of the participants on training was high (= 4.42, S.D. =0.13).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.