การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันล้ำค่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
กิจกรรมการเรียนรู้, ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐาน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, Learning Activities, Problem Based Learning, Critical ThinkingAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันล้ำค่า สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ APBL โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนเรียนและหลังเรียน 2.3) ศึกษาการจัดกิจกรรมเรียนรู้ APBL โดยดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ APBL ซึ่งมี 7 ขั้นตอน คือ 1) เผชิญกับปัญหาที่ท้าทาย 2) กำหนดปัญหาจากสถานการณ์จริง 3) ทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง 4) สร้างสมมติฐานจากปัญหาที่เผชิญ 5) ดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 6) ร่วมกันสะท้อนความคิดและติชม และ 7) สรุปผลและนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนผังมโนมติ โดยพิจารณาความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดงเดือย จำนวน 3 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของเนื้อหา ภาษา เวลา และสื่อการเรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไขนำไปทดลองใช้กับนักเรียนจำนวน 9 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75
ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ APBLกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านกง (ราษฎร์อุทิศ) จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบแผนการทดลอง One Group Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ APBL มีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.55/76.38 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 4) นักเรียนเกิดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเจตคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ABSTRACT
The purposes of this research were : 1) to construct and assess the efficiency of learning activities by using authentic problem based learning to enhance critical thinking ability on topic of valuables natural resources and environment for phathomsuksa 6 students 2) to implement the learning activities by using APBL by 2.1) to compare the critical thinking ability before and after using the learning activities. 2.2) to compare the attitude towards natural resources and environmental conservation ability before and after using the learning activities. 2.3) to study learning activities by using APBL. The research procedure comprised with 2 steps of research and development were as follows:
Step 1: Constructing and assess the effectiveness of the learning activities by using APBL. The instructional packages composed 7 factors were as follows; 1) client interface or simulated client 2) Problem Identification 3) undertaking the problem 4) make a hypothesis 5) Self-Directed Learning 6) Reflection and Feedback and 7) Final Solution and production presentation on concept map. That certified the model by five experts then tries out with 3 students of Phathomsuksa 6 at Bandongduay School under the office of the Sukhothai Primary Education Service Area 1 in the second semester of academic year 2559 to semester the appropriateness of content, language, time and educational materials. After revised the model, it was tried out with 3 and 9 of students of Phathomsuksa 6 at Bandongduay School to assess the effectiveness of the learning activities based on APBL to standard criteria of 75/75.
Step 2: Implementing the learning activities by APBL. The sample group was 30 students of Phathomsuksa 6 at Ban Kong ( Ra Sot Uthit ) School under the office of the Secondary Education Service Area 12 in the second semester of academic year 2559 to simple random sampling. The research design was One Group Pretest – Posttest Design. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, difficulty, discrimination, reliability, t – test dependent and content analysis.
The result of the study revealed that: 1) activities APBL had appropriated quality with highest level and effectiveness equal 80.55/76.38 2) Students had higher critical thinking ability level than before study at significance level of .01 3) Students had higher attitude towards natural resources and environmental conservation ability level than before study at significance level of .01 4) The result during the study according to learning activities, the students critical thinking ability and attitude towards natural resources and environmental conservation
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.