การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ เรื่อง กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Keywords:
การ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ, วิทยาศาสตร์, กระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช, 2D Animation, Science, The Process of Plant LifeAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ เรื่องกระบวนการในการดำรงชีวิตของพืชกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติเรื่องกระบวนการในการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ ของนักเรียนที่มีแรงจูงใจในการเรียนและผลการเรียนวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคีรีราษฎร์พัฒนา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม แบบแบ่งชั้น และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.63 3) แบบวัดแรงจูงใจในการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ 5) แบบประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง (Two Way MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ตูนแอนิเมชันสองมิติมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.78/81.20 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการ์ตูนแอนิเมชันสองมิติที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจแตกต่างกัน แต่นักเรียนที่มีแรงจูงใจในการเรียนแตกต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
The Development of 2D Animation Comic on The Process of Plant Life in The Science Subject Area of Mattayomsuksa I Students.
The objective of this research were 1) to develop the 2D animation comic on the process of plant life in the science subject area of Mattayomsuksa 1 students and find out the efficiency according to the set of 80/80 standard criterion, 2) to compare the learning achievement of theprocess of plant life in the science subject area of Mattayomsuksa 1 students before and after learning with 2D animation. 3) to compare the learning achievement and satisfaction of the 2D animation comic on the process of plant life in the science subject area of Mattayomsuksa 1 after learning with 2D animation on student who have different learning motivation and science grade. The samples for this study were 50 of Mattayomsuksa 1 students at Keereerat Pattana School, Ronphiboon distric, Nakhon Si Thammarat province, academic year 2016 by means of random sampling groups, stratified and random sampling. The tool used of study was 1) 2D animation comic 2) learning affectiveness test form 3) learning motivation test form 4) satisfaction rating assessed form 5) 2D animation comic quality assessed form. The data analyzed were means, standard deviation (S.D.), percent, t – test and Two Way MANOVA.
The results can be able to summarize as follows: 1) the 2D animation comic efficient accounted 80.78/81.20 2) the post – test effectiveness of the learner was higher than pre – test with statistically significant level at .05 3) students who learning with 2d animation who have science grade will have different result and satisfaction but students who have different learning motivation will have not different to result and satisfaction.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.