ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตที่มีต่อ การใช้สื่อการสอนของอาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Keywords:
ความพึงพอใจของนักศึกษา, การใช้สื่อการสอนของอาจารย์, Students’ Satisfaction, Instructional Media Utilization of instructorsAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2556 สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อวัดความพึงพอใจ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (T-Test) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระแก่กัน (Independent) การวิจัยพบว่านักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีระดับความพึงพอใจประเภทของสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.99, S.D.=0.770) ระดับความพึงพอใจคุณลักษณะของสื่อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D.=0.743) และมีระดับความพึงพอใจรูปแบบการสื่อสารโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.01, S.D.=0.761) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีความไม่แตกต่างกันตามเพศและอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แต่พบความแตกต่างกันในชั้นปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Abstract
The main objectives of this research were to study and compare on the satisfactions of students with instructional media utilization of instructors in Communication Arts Program Management Science Faculty at Pibulsongkram Rajabhat University. The samples of this study were consisted of 217 Communication Arts Curriculum’s students Program in Communication Arts, Management Science Faculty at Pibulsongkram Rajabhat University. The research instrument was questionnaire to test Satisfaction of Communication Arts Curriculum’s Students. The statistical procedures used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, t-test. Results of this research were the follows: the overall students program in Communication Arts Management Science Faculty at Pibulsongkram Rajabhat University had a level of Media types’ satisfaction at a high level ( = 3.99, S.D.= 0.770), a level of Media attributes’ satisfaction with at a high level ( = 4.04, S.D.= 0.743). and a level of Communication formats’ satisfaction with a high level ( = 4.01, S.D. = 0.761) Results of testing the hypothesis were as follows: there were no differences in terms of gender and age by satisfaction of Communication Arts curriculum’s students with instructional media utilization of Communication Arts‘ instructors with significance at the level of .05 but there was a difference in terms of years by using satisfaction of Communication Arts curriculum’s students with instructional media utilization of Communication Arts’ instructors with significance at the level of 0.05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.