รูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้

Authors

  • วันสว่าง สิงห์ชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พูนชัย ยาวิราช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ประเวศ เวชชะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สมเกียรติ ตุ่นแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Keywords:

รูปแบบ, สุขภาพองค์การ, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, Model, Organizational health, Basic education schools

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือเพื่อตรวจวินิจฉัยสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดภาพในอุดมคติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสุขภาพดี และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) พัฒนาเครื่องมือเพื่อตรวจวินิจฉัยสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดภาพในอุดมคติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสุขภาพดี 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

            1. เครื่องมือตรวจวินิจฉัยสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
1) องค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ 2) องค์ประกอบย่อย 23 องค์ประกอบ 3) ตัวชี้วัด 136 ตัวชี้วัด 4) เกณฑ์การตรวจวินิจฉัย 3 ระดับ และ ระดับความต้องการมีการพัฒนาองค์การ 3 ระดับ และการตรวจวินิจฉัยสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 โรงเรียนพบว่า ทุกโรงเรียนมีสุขภาพดี

            2. ภาพในอุดมคติของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีสุขภาพดี เป็นดังนี้ 1) มีองค์ประกอบหลัก ด้านสภาพแวดล้อม ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 5 องค์ประกอบที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 2) มีองค์ประกอบหลักด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ ที่มีเพียงพอ มีความเป็นมืออาชีพ มีความชำนาญในงาน มีอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน ทันสมัย เข้าใจในบทบาท ให้การสนับสนุนสถานศึกษา มีลักษณะทางกายภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย 3) มีองค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 9 องค์ประกอบ 4) องค์ประกอบหลักด้านผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ และ 5) องค์ประกอบหลักด้านการรายงานข้อมูลป้อนกลับของผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ

            3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ซึ่งรูปแบบประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ที่มาของรูปแบบ ได้แก่ 1) หลักการและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลการปฏิบัติงาน และ 5) ด้านการรายงานข้อมูลป้อนกลับของผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3 เงื่อนไขของการใช้รูปแบบและแนวทางของการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ดำเนินการ คือ วิเคราะห์องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมขององค์การ วิเคราะห์องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า และองค์ประกอบด้านกระบวนการ ให้นำองค์ประกอบย่อยไปปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1) กำหนดพันธกิจและกลยุทธ์ 2) พัฒนาภาวะผู้นำ 3) สร้างวัฒนธรรมองค์การ 4) กำหนดโครงสร้าง 5) กำหนดการปฏิบัติหน้าที่ทางการจัดการ 6) กำหนดระบบปฏิบัติการ 7) กำหนดข้อกำหนดของงาน โดยส่งเสริมบรรยากาศและแรงจูงใจ พัฒนาส่งเสริมความสำเร็จของบุคลากร และนำหลักการบริหารจัดการด้วยกระบวนการบริหาร 4 ขั้นตอน PDCA มาใช้ในทุกองค์ประกอบย่อย นำรายงานข้อมูลจากองค์ประกอบการรายงานข้อมูลป้อนกลับ ไปใช้ปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลการปฏิบัติงาน

            4. ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้รูปแบบ พบว่า อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู มีความเห็นว่าส่วนที่ 1 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มากที่สุด ส่วนที่ 2 โดยภาพรวม มีความเหมาะสมมากและความเป็นไปได้มากที่สุด และส่วนที่ 3 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด

 Abstract

            The purposes of this research were 1) to develop tools for diagnosing organization health of Basic Education schools, 2) to Identify the ideal image of healthy Basic Education schools; and 3) to propose an organization health development model of Basic Education schools to enhance the quality of school management. This descriptive research was conducted in to 4 stages. They were: 1) development of tools for diagnosing organization health of Basic Education schools, 2) identification of the ideal image of healthy Basic Education schools, 3) proposing an organization health development model of Basic Education schools to enhance the quality of school management, and 4) assess went of possibility and suitability of the proposal. The research results were as follows:

            1. Organizational health of Basic Education analysis tools include 1) 5 main components, 2) 23 minor components, 3) 136 indicators, 4) 3 levels of analysis criteria and 5) 3 level requirement for the organization development and the organizational health of Basic Education analysis from 9 target schools reveal that all schools development demands met developed educational organization levels.

            2. The ideal image of a healthy Basic Education schools are as follows; 1) the main environmental component consists of 5 sub-components, 2) the main input component consists of 4 sub-components, 3) the main process components consists of 9 sub-components, 4) the major performance component consists of  4 sub-components and 5) the main performance feedback report consists of 2 sub-components.

            3. A model of organizational health development of Basic Education schools to enhance the quality of school management is composed of 3 parts: first, the source of model including 1) the principles and priority, 2) the purpose, second, the model component including 1) environment, 2) inputs, 3) process,
4) performance and 5) reporting feedback on the performance and third, the style and approach of model. The process of developing the organizational health in Basic Education schools to enhance the quality of school management altogether with the proceed learning is to analyze the components of organization environment, the input components and the process components by putting these elements into the practices as follows : (1) determine the mission and strategy, (2) develop the leadership role, (3) build up the organization culture, (4) determine the organization structure, (5) assign the management practices in personnel, (6) determine the performance systems (7) allocate the task requirements by supporting the work climate and motivation ; simultaneously develop and promote the personnel achievements and apply the principles of administration PDCA in every element. Then bring all feedback reports to improve and develop the input components in the parts of process and performances.

            4. To evaluate the suitability and feasibility of the model reveals that university professors, educational executive, education supervisor, educational administrator and teachers agree that part 1 is suitable and the most feasible, overall of the second part is very suitable and the most feasible while the third part is suitable and the most feasible.

Downloads

How to Cite

สิงห์ชัย ว., ยาวิราช พ., เวชชะ ป., & ตุ่นแก้ว ส. (2016). รูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 66–86. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73549