การสำรวจความต้องการเพื่อหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

Authors

  • อดุลย์ จันตา สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ หลักสูตรการศึกษาดุษฏีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุมลนิตย์ เกิดหนุนวงศ์ ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ชไมพร ดิสถาพร ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การสำรวจ, หลักสูตรฝึกอบรม, การอนุรักษ์, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Survey, Training Curriculum, Conservative, Local wisdoms

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลักคือการหาข้อมูลเพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และมีจุดประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อสำรวจความต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอสอง โดยเฉพาะด้านการรับรู้ ปัญหาแนวทางแก้ปัญหา และความต้องการที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาของตน ประชากรได้แก่ กลุ่มผู้นำและชาวบ้านในอำเภอสอง เยาวชนอายุระหว่าง 17-20 ปี และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอสอง กลุ่มตัวอย่างซึ่งเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้นำและชาวบ้านในตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จำนวน 36 คน 2) เยาวชนทุกเพศซึ่งอายุระหว่าง 17-20 ปี ในตำบลบ้านกลาง จำนวน 30 คน และ 3) ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 4 คน ในตำบลบ้านกลาง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ แบบตัวเลือก และปลายเปิด เพื่อสอบถามผู้นำชุมชนและชาวบ้าน และสอบถามเยาวชนอายุ 17-20 ปี และแบบสัมภาษณ์ครูภูมิปัญญาที่ใช้สัมภาษณ์ครูภูมิปัญญา จำนวน 4 คน ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาที่กลุ่มผู้นำและชาวบ้านรับรู้มากที่สุด คือ เทียนบูชาสะเดาะเคราะห์ (100%) ขนมไทย (100%) และการปั้นขี้เลื่อยผสมกาว (86%) โดยคิดว่าภูมิปัญญาเหล่านี้แสดงเอกลักษณ์ (100%) และเป็นแหล่งเรียนรู้ (100%) ด้านปัญหาของภูมิปัญญาพบว่าการขาดความตระหนักเป็นปัญหาสำคัญที่สุด (100%) และการขาดการส่งเสริมจากหน่วยงานสำคัญรองมา (83%) กลุ่มนี้มีแนวทางแก้ปัญหา 2 แนวทาง คือ การส่งเสริมยกย่องครูภูมิปัญญา (100%) และการถ่ายทอดภูมิปัญญาภายในครอบครัว (88%) ส่วนภูมิปัญญาที่กลุ่มเยาวชนรับรู้มากที่สุด คือ ขนมไทย (63.3%) และการทำน้ำปู (56.7%) โดยคิดว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ คือ การสร้างรายได้มากที่สุด (80%) และคิดว่าในอนาคตจะไม่มีใครสนใจภูมิปัญญาท้องถิ่น (70%) กลุ่มเยาวชนคิดว่าการเลี้ยงผึ้งและการแกะสลักไม้ได้รับความสนใจน้อยที่สุด (26.7%) สำหรับแนวทางแก้ปัญหาของกลุ่มนี้ คือ การสร้างจิตสำนึก (73.3%) และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (90%) สำหรับภูมิปัญญาที่กลุ่มนี้ต้องการอนุรักษ์มากที่สุดคือ การทำน้ำปู (53.3%) และการทำเทียนสะเดาเคราะห์ (50%) ส่วนข้อมูลจากครูภูมิปัญญาพบว่าควรมีการตั้งกลุ่มรักษาภูมิปัญญาเพื่อการสาธิตและฝึกปฏิบัติด้านภูมิปัญญา

Abstract 

            The current study was primarily aimed to collect data for constructing a training curriculum to promote the conservative mind in local wisdoms in Song District, Phrae Province.  Its objectives were 1) to survey perceptions about local wisdoms in Song District and ways to solve problems related to them and needs to conserve them. The population consisted of three groups: community leaders and general people, young people aged 17-20, and local wisdom teachers. The samples, chosen purposively, consisted of three groups: 1) 36 community leaders and general people, 2) 30 17-20-year-old young people, and 3) 4 local wisdom teachers. The research instruments were two multiple-choice and open-ended questionnaires, one for the first group and the other for the second group, and also an interview form for asking four local wisdom teachers. The findings showed that the local wisdoms, the leaders and people perceived most were the destiny candle (100%), Thai desserts (100%), and glue-saw dust molding (100%). They thought that these were their unique symbols (100%) and sources of learning (100%). The biggest problems for them were lack of the conservative mind (100%) and lack of governmental support (100%). The group suggested showing respect to local wisdom teachers (100%) and transferring local wisdoms within families (88%). As for the perception of local wisdoms in the young people group, Thai desserts came first (63.3%), and crab juice came second (56.7%). The group thought of the local wisdoms as a way of earning money (80%) and thought that in the future no one would be interested in the local wisdoms (70%). The group thought that raising bees and wood carving obtained the least attention (26.7%). They suggested promoting the conservative mind (73.3%) and transferring local wisdoms (90%). They wanted to conserve the crab juice and the destiny candle most, 53.3% and 50% respectively. Finally, the data from the local wisdoms teachers suggested establishing groups to demonstrate and practice local wisdoms.

Downloads

How to Cite

จันตา อ., เกิดหนุนวงศ์ ส., & ดิสถาพร ช. (2016). การสำรวจความต้องการเพื่อหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 155–173. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73581