การพัฒนาแบบวัดความเป็นไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ประกฤติยา ทักษิโณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัชราวลัย มีทรัพย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ความเป็นไทย, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ, คุณลักษณะที่ไม่ใช่การรู้คิด, Thainess, Desirable Characteristic, Confirmative Factor Analysis, Item Response Theory, Noncognitive

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความเป็นไทย ซึ่งความเป็นไทยเป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดความเป็นไทย แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 จำนวน 1,200 คน การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด ประกอบด้วยการตรวจสอบค่าอำนาจจำแนกคุณภาพรายข้อตามแนวคิดทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ และการตรวจสอบคุณภาพทั้งฉบับ ได้แก่ ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า

            1. โมเดลการวัดความเป็นไทย มี 5 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) การรักษาระเบียบวินัย จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ 2) การปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย จำนวน 2 ตัวบ่งชี้ 3) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ 4) รักความเป็นไทย สืบสานวัฒนธรรมไทย จำนวน 3 ตัวบ่งชี้ และ 5) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 ตัวบ่งชี้

            2. แบบวัดความเป็นไทยที่พัฒนาขึ้น 3 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความเป็นไทยระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 24 ข้อ แบบวัดความเป็นไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวน 36 ข้อ และ แบบวัดความเป็นไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวน 36 ข้อ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าโมเดลการวัดของแบบวัดทั้งสามระดับมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นั่นคือแบบวัดทั้ง 3 ฉบับ มีความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) และแบบวัดระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีความเที่ยง (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.497-0.642 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23-1.87 แบบวัดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีความเที่ยงอยู่ระหว่าง .495-.747 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22-2.61 และแบบวัดมัธยมศึกษาตอนปลายมีความเที่ยงอยู่ระหว่าง .475-.729 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-2.79 

 Abstract

           The objectives of this research were to develop and investigate the quality of Thainess scale. Since Thainess was a major characteristic of upper primary school students, lower secondary school students, and upper secondary school students. The instrument for measuring Thainess, was a 5 level rating scale. The samples were 1,200 upper primary school students, lower secondary school students, and upper secondary school students. For validation, the item discrimination based on item response theory, were administered. For total quality validation, reliability and construct validity were administered. Confirmative factors were analyzed by Mplus program. The research findings found that: 

            The Thainess Model consisted of 5 factors and 12 indicators including:
1) 2 indicators of discipline maintenance, 2) 2 indicators of action based on democratic system, 3) 3 indicators of love of nation, religion and king, 4) 3 indicators of love of Thainess to preserve our Thai cultural heritage, and
5) 2 indicators of Sufficiency Economy Philosophy.

            Three issues of Thainess Scale consisted of 24 items of Thainess Scale for upper primary school, 36 items of Thainess Scale for lower secondary school, and 36 items for upper secondary school. For confirmative factor analysis, found that all of 3 levels for measurement model, were congruent with empirical data. Construct validity was shown in all of 3 issues. The reliability values were ranged between 0.497-0.642. Item discrimination values were ranged between 0.23-1.87. Reliability values of lower secondary school, were ranged between .495 - .747. Item discrimination values were ranged between 0.22-2.61. The reliability values of upper secondary school scale, were ranged between .475-.729. Item discrimination values were ranged between 0.20-2.79. 

Downloads

How to Cite

ทักษิโณ ป., & มีทรัพย์ พ. (2016). การพัฒนาแบบวัดความเป็นไทยของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 194–212. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73600