ภาวะผู้นำ การจัดการความรู้ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร
Keywords:
ภาวะผู้นำ, การจัดการความรู้, วัฒนธรรมองค์การ, องค์การแห่งการเรียนรู้, Leadership, Knowledge Management, Organizational Culture, Learning OrganizationAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา การจัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์การและการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ 311 แห่ง รวมประชากรทั้งสิ้น 5,783 คน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา รวมจำนวน 777 คน จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 156 แห่ง คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ โดยใช้วิธี (One sample t-test) และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร การจัดการความรู้ วัฒนธรรมองค์การ และการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตรโดยภาพอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร จำนวน 10 ปัจจัย เรียงตามลำดับคือ 1) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ด้านยุทธวิธีที่ใช้ 2) การจัดการความรู้ ด้านการถ่ายโอนและการเผยแพร่ความรู้ 3) ภาวะผู้นำ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 4) วัฒนธรรมองค์การ ด้านตัวประสานองค์การ 5) วัฒนธรรมองค์การ ด้านเงื่อนไขแห่งความสำเร็จ 6) การจัดการความรู้ ด้านการจัดเก็บความรู้ 7) วัฒนธรรมองค์การ ด้านผู้นำองค์การ 8) การจัดการความรู้ ด้านการวิเคราะห์และการทำเหมืองความรู้ 9) ภาวะผู้นำ ด้านการสร้างบารมี และ 10) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ ด้านคุณลักษณะเด่นขององค์การ ซึ่งทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร โดยรวมได้ร้อยละ 84.9 (R2=.849) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The objectives of the research were to study 1) the levels of leadership of the educational administrators, knowledge management, organizational culture and learning organization of basic educational schools affiliated with the primary educational service area office in Phichit province, 2) to study the factors affecting learning organization of basic educational schools affiliated with the primary educational service area office in Phichit province. The populations were educational administrators, teachers and school committee’s total amount 5,783. The respondents were educational administrators, teachers and school committee’s total amount 777. By using simple random sampling, schools were sampling units. The instruments were 5 rating scales questionnaires. The statistics were means, standard deviations, t-test to access the statistical significant between means and test value (3.50) and analyzed with stepwise multiple regressions. The research results have indicated that; 1) The levels of leadership of the educational administrators, knowledge management, organizational culture and learning organization of basic educational schools affiliated with the primary educational service area office in Phichit province were high statistically significant level .01. 2) The factors of organizational culture; Strategic Emphases, Organization Glue, Criteria of Success, Organizational Leadership and Dominant Characteristics. The factors of knowledge management; Transfer and Dissemination, Storage and Analysis and Data Mining. The factors of Leadership; Intellectual Stimulation and Idealized Influence or Charisma Leadership. These were factors affecting learning organization of basic educational schools affiliated with the primary educational service area office in Phichit province. All of them could predict learning organization statistically significant level .01 at 84.90 percent.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.