การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดของโพลยา
Keywords:
การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา, Mathematics Ability in Solving Problems, Polya MethodAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสมการ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2
ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านบึงพิไกร จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
t–test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี 2) ความสามารถ
ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยาสูงกว่าก่อน
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the students’ mathematics ability in word problems solving mathematical problems after studying by polya method, 2) to compare the students’ ability in solving mathematical problems which is the equations solving before and after studying by polya method, 3) to study the students’ satisfaction after studying by polya method. The samples were 29 students who were studying in Prathomsuksa 6 class 2 in 2015 academic year at Banbuengphikrai School. The research instruments were mathematics problems lesson plans for the equation solving, mathematics ability test in solving mathematical problem and questionnaire on the students’ satisfaction toward learning management based on polya method. The data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation and dependent t-test. The results of this research were as follows: 1) The students’ ability in solving mathematical problems was at a good level. 2) The students’ ability in solving mathematical problems which is the equation after studying by polya method was significantly higher at .05 level. 3) The students’ overall satisfaction on learning by polya method was at the highest level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.