สภาพปัญหาการบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารและครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส )

ผู้แต่ง

  • สุวารี เพ็ชร์สงคราม นักศึกษาปริญญาเอก (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อริยา คูหา ศศ.ม (จิตวิทยาและการแนะแนว) ผู้ช่วยศาสตราจารย์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารและครูของงสถานศึกษาอาชีวศึกษาสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ปัตตานี ยะลา นราธิวาส )

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารและครูของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 13 สถานศึกษา  จำนวน 114 คน ซึ่งได้มาจากการเทียบตารางของ เครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan.บุญชม ศรีสะอาด,2548) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ0.79  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย สรุปว่า ดังนี้

            สภาพการบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารและครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีสภาพปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ที่มีค่าเฉลี่ย(  3.27 ) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า

1)  ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัฃญาของเศราฐกิจพอเพียงมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง  ที่ค่าเฉลี่ย (  3.59)  เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านอาคารสถานที่ ที่ค่าเฉลี่ย (  3.84)   รองลงมาคือด้านนโยบายการบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ที่ค่าเฉลี่ย(  3.59)  ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านสัมพันธ์ชุมชน  ที่ค่าเฉลี่ย (  3.42 ) 

            2)  ด้านหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน  มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ย(  3.26)   เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีสภาพปัญหามากที่สุด คือ ด้านการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน ที่ค่าเฉลี่ย  ( 3.34)    รองลงมาคือ  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 

ที่ค่าเฉลี่ย(  3.30 )  ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดผลประเมินผลที่ค่าเฉลี่ย (  3.13 )

            3)  ด้านการพัฒนาบุคลากร มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย (  3.24 )  เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่ารายการที่มีปัญหามากที่สุด คือด้านการสร้างความตระหนักและเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ค่าเฉลี่ย ( 3.44)  รองลงมาคือ  ด้านการดำเนินและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ที่ค่าเฉลี่ย ( 3.43)  ส่วนที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการเผยแพร่แนวคิดและผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ค่าเฉลี่ย (  2.82)

4)  ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ที่ค่าเฉลี่ย (  3.05 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า รายการที่มีสภาพปัญหามากที่สุด คือ ด้านกิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ นักศึกษาวิชาทหาร ที่ค่าเฉลี่ย (  3.41)  รองลงมาคือ ด้านการแนะแนวและระบบดูแลนักเรียน  ที่ค่าเฉลี่ย (  3.05 ) ส่วนด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  วัฒนธรรม  หรือหลักคำสอนศาสนา  ที่ค่าเฉลี่ย (  2.82)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.2550. ผลการดำเนินงานขับ เคลื่อนปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา สำนักงานกิจการพิเศษสำนัก งานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

กระทรวงศึกษาธิการ.2550. แนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. คณะทำ งานจัดทำแนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอ เพียงสู่สถานศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. 2548 .วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. 2549. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา.ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พระมหาอาวรณ์ ชัยประสิทธิ์. 2547. สภาพการจัด การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชา ชีพปีที่ 3 ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโน
โลยีเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง จังหวัด เชียงใหม่.การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนาพร ระงับทุกข์.2543. แผนการสอนที่เน้นผู้ เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ.ไทยวัฒนาพานิช.

วราภรณ์ สามโกเศศ. 2550. เยาวชนคือความทรัพยากรที่มีค่าที่สุดที่สอนให้เขารู้จักพอดี.บันทึกเทปโทรทัศน์

รายการ Money Channel เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2550 ที่มาออนไลน์ WWW.thaigoy.go.th สืบค้นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551.

สุวิมล ติรกานันท์ .2543. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ. : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.2551. สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการอาชีว ศึกษา พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด กระทรวงศึกษาธิการ. 2550.แนวทางการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปจัด การในสถานศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการขับ เคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาน ศึกษา.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคใต้.2553. เอกสารการประชุมสัมมนาผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาภาคใต้. ( อัดสำเนา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-18

How to Cite

เพ็ชร์สงคราม ส., & คูหา อ. (2018). สภาพปัญหาการบริหารวิชาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้บริหารและครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ). วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ, 4(7), 45–56. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/115194