ความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

ผู้แต่ง

  • ผุสนีย์ แก้วมณีย์ พย.ม. (พยาบาลศึกษา) อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา
  • เรวัตร คงผาสุข ศษ.ม.(ศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน) อาจารย์ประจำวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, การปรับตัว, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทาง อารมณ์กับการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา จำนวน  79 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบสอบถามการปรับตัวของนักศึกษา ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.85 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. นักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.65 มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปกติ
  2. นักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่ มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ในด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข อยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 53.16,73.42 และ 69.60 ตามลำดับ
  3. นักศึกษาพยาบาล มีการปรับตัวในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=3.49) มีการปรับตัวด้านกลุ่มเพื่อน ด้านผู้สอน และด้านกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (=3.73, =3.58, =3.52 ตามลำดับ) มีการปรับตัวด้านการเรียน และด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง (=3.45,=3.17)
  4. ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวด้านกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.234 ,p<.05)
  5. ความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวด้านกลุ่มเพื่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.247) ความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวโดยรวม และการปรับตัวด้านกลุ่มเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.235 และ r=.237,p<.05 ตามลำดับ)

จากผลการวิจัยครั้งนี้ อาจารย์ควรนำผลไปพัฒนานักศึกษา เพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวเพื่อเป็นประโยชน์กับนักศึกษา ทั้งการเรียน และการใช้ชีวิตในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม นอกจากนี้ต้องพัฒนาในทักษะที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัว เช่น การตระหนักรู้ในตนเอง วิธีการจัดการความเครียด วิธีการเผชิญปัญหา พฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม การตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ การพัฒนาบุคลิกภาพ การคิดเชิงบวก ทักษะการสื่อสาร เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติ งานในวิชาชีพพยาบาล เป็นพยาบาลที่มีคุณภาพในอนาคต

References

กรมสุขภาพจิต. 2543. คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมสุขภาพจิต. 2550. อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.

กาญจนา วณิชรมณีย์ และวนิดา ชนินทยุทธวงศ์. 2543. อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.

ชนัดดา เพ็ชรประยูร,ชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล และนนทิรัตน์ พัฒนภักดี. 2554 ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย.),157-166

ชมนาด วรรณพรศิริ,จันทร์เพ็ญ เฉลียว และ อารีย์ กุลจู. 2551.เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1ถึง 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.รายงานวิจัย.พิษณุโลก: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

ณรัญญา มีชัย และคณะ.2555.ปัญหาสภาพการปรับตัวของนักศึกษาปี 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เทอดศักดิ์ เดชคง. 2542. ความฉลาดทางอารมณ์.พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ: มติชน

นิรมล สุวรรณโคตร. 2553. การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประกาย จิโรจน์กุล. 2556. การวิจัยทางการพยาบาล:แนวคิดหลักการและวิธีปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ : ธนาเพลส.

ปาริกา อัคนิวาส. 2550.การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์กับการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา
พัฒนาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พรภิรมย์ หลงทรัพย์. 2547. ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ลักขณา เทศเปี่ยม.2552.ความฉลาดทางอารมณกับระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์.2545. จิตวิทยาการปรับตัว.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วาณี ภูเสตว์. 2548. ภาวะสุขภาพจิตและการปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปที่ 1 มหาวิทยาลัย ราชภัฏรําไพพรรณี.รายงานวิจัย.กรุงเทพ:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
บรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. 2542. เชาวน์อารมณ์(EQ):ดัชนีความสุข และความสำเร็จในชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: เอกเปอร์เนท

ศรีเรือน แก้วกังวาล. 2549. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมน์ . 2553. ความฉลาดทางอารมณ์และความพร้อมในการปฏิบัติงานในบทบาทพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.ปีที่4 ฉบับที่ 2, หน้า 47-57

สำรวย ประโพธิ์ศรี. 2544. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวด้านการเรียนในระบบไตรภาคของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา.ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .

สุกัญญา ตันตระบัณฑิตย์.2548.การศึกษาการปรับตัวของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ศูนย์กลาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์. 2552. ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือกต่อวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อุษณีย์ เทพวรชัย. 2553. ความฉลาดทางอารมณ์:ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาในนักศึกษาพยาบาล.วารสารพยาบาล. ปีที่ 59 (ฉบับที่ 3),หน้า 71-78.

Goldman,D.1998. Working with Emotional Intelligence. New York: Bantam

BookJordan P. J. & Troth A. C.(2002). Emotional intelligence and conflict resolution in nursing. Contemporary Nurse. 13(1): 94 -100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-17

How to Cite

แก้วมณีย์ ผ., & คงผาสุข เ. (2018). ความฉลาดทางอารมณ์ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ, 4(8), 51–61. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/115202