การพัฒนาทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • นูรีฮัล หะยะ
  • มูหำมัดสุใหมี เฮงยามา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด, รายวิชาอัลอัคลาก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺโดยใช้อนาซีด สาระการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาก 2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านบทดุอาอฺ ที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้อนาชีด สาระการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาก  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้อนาชีดก่อนและหลังเรียน สาระการเรียนรู้รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเยาะ อำเภอธารโต จังหวัดยะลา จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด แบบประเมินทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้ อนาชีด มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.18/82 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80  ที่ตั้งไว้ 2. ทักษะการอ่านบทดุอาอฺของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้อนาชีด แสดงระดับทักษะการอ่านอยู่ในระดับดี ( = 7.10,  = 1.77) 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = 0.09) สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมวิชาการ (2543). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนาธิป พรกุล. (2551). การออกแบบการสอน การบูรณาการ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชุลี อินมั่น. (2533). การอ่านสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.
ซากีนา กานา. (2551). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษามลายูที่ถูกต้อง โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านพยัญชนะมลายูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านสะเอะ. วิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.
ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2552). การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542) แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : คอมพิวเตอร์กราฟฟิค
________. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ : คอมพิวเตอร์กราฟฟิค
วิริยะ สิริสิงห. (2551). การสร้างสรรค์วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์
อิบรอฮิม ณรงค์รักษาเขต. (2556). ประวัติการศึกษาอิสลาม. ปัตตานี: บัยตุ้ลฮิกมะห์.
อับดุลฮาดี มะกูดี. (2553). การร้องเพลงในมุมมองอิสลาม.สงขลา :หาดใหญ่กราฟฟิก.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-06

How to Cite

หะยะ น., & เฮงยามา ม. (2021). การพัฒนาทักษะการอ่านบทดุอาอฺในชีวิตประจำวันโดยใช้อนาชีด รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ, 11(22), 113–126. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/247907