การสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
The purpose of this research was to synthesize a model of linear causal relationship affecting the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools under the Office of Basic Education Commission. The sample, derived by means of the multi-stage sampling technique, were 264 teachers in 24 schools. There were six factors, namely: the budgeting approach, community participation, media technology and resource center development, the qualifications of administrators, the qualifications of teachers, and the qualifications of students. The research instrument was a Likert rating scale questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics, through SPSS, and the Linear Structure Relationship Program Version 8.72 to investigate the causal relationship model. The results revealed that all the components affect the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools. The adjusted model was consistent with the empirical data. Goodness of fitness measures were found to be: = 127.47, P-value = 0.059, df = 104, /df = 1.23, CFI = 1.00, GFI = 0.94, RMSEA = 0.032, RMR = 0.014. The regression analysis value of the dependent variables (latent variables for the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools) was 0.71. That means the variables in the adjusted model could explain the variance of latent variables for the efficiency with 71% probability. There were three direct factors affecting the efficiency of academic affairs administration: 1) the qualifications of teachers; 2) the qualifications of students; and 3) the participation of the community. There were three indirect factors affecting the efficiency of academic affairs administration: 1) the qualifications of the administrators; 2) budget support; and 3) developing media technologies and learning resource centers.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างองค์ประกอบเชิงสาเหตุกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 264 คน จาก 24 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) องค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านคุณสมบัติของครู และด้านคุณสมบัติของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่าตามแบบ Likert’s Scale การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทุกตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบความสัมพันธ์ที่ปรับตามรูปแบบที่ปรับแก้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบไค-สแควร์ () มีค่าเท่ากับ 127.47 ค่า P-value เท่ากับ 0.059 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 104 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ เท่ากับ 1.23 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.94 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.032 ค่า RMR เท่ากับ 0.014 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรแฝงประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ (EFL) มีค่าเท่ากับ 0.71 แสดงว่า ตัวแปรในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ได้ร้อยละ 71 โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางตรง มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของครู ด้านคุณสมบัติของนักเรียน และด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน องค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางอ้อม มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านวิธีการทางงบประมาณ และด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้
Article Details
All submitted articles are subject to academic validation by qualified experts (peer review). The opinions expressed in each article of this publication are those of the authors themselves. The editorial board holds no responsibilities on them and does not reserve the copyright for academic use with the condition that the reference of their origin is cited.