การประเมินผลการขยายแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองให้ แก่บุคลากรทางการศึกษาในโครงการพัฒนาสนามเด็กเล่นในโรงเรียนร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
Main Article Content
Abstract
The objectives of this research were to evaluate performance, lessons, and the successes of Brain-Based Learning Management Concept Expansion for Educational Personnel in the Project “School Playgrounds Development with the Cooperation of the Area Office of Nakhon Sawan Primary Education 1”. The objectives of this research were to evaluate performance, lessons, and the successes of Brain-Based Learning Management Concept Expansion for Educational Personnel in the Project “School Playgrounds Development with the Cooperation of the Area Office of Nakhon Sawan Primary Education 1”. The sources of the study’s spatial data were three pre-primary and primary schools. The key informants were divided into two groups: educational personnel (one educational supervisor, three school directors, and 13 school teachers) and related parties (eight students and four members from the Parents Network). Data were collected using observation, in-depth interviews, and focus group discussions.Open-ended questions, unlimited answers, and semi-structured questions were evaluation tools used in this study. The qualitative data were analyzed by the use of content analysis with holistic and evidence-based assessment. The research found that: 1) Teachers had the abilities to manage teaching and learning by using the playground areas. 2) There were changes in the quality of learners using the playgrounds. 3) Utilizing playgrounds was appropriate. 4) The related parties were satisfied with the use of the playgrounds. 5) According to the principle of brain-based learning, playground development revealed lessons and successes for the school teachers and the network members.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน บทเรียน และความสำเร็จของการขยายแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองให้แก่บุคลากรทางการศึกษาในโครงการพัฒนาสนามเด็กเล่นในโรงเรียนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 แหล่งข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นโรงเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) บุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน และครู 13 คน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นักเรียน 8 คน สมาชิกภาคีเครือข่ายและพ่อแม่ผู้ปกครอง จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดไม่จำกัดคำตอบ และคำถามที่ใช้เป็นคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการประเมินแบบองค์รวมและใช้การอ้างอิงร่องรอยหลักฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่สนามเด็ก-เล่น 2) เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของผู้เรียนจากการใช้สนามเด็กเล่น 3) กระบวนการใช้ประโยชน์จากสนามเด็กเล่นมีความเหมาะสม 4) ผู้เกี่ยวข้องมีความความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้สนามเด็กเล่น และ 5) เกิดบทเรียนและความสำเร็จของครูนักเรียน สมาชิกภาคีเครือข่ายจากการพัฒนาสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน บทเรียน และความสำเร็จของการขยายแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองให้แก่บุคลากรทางการศึกษาในโครงการพัฒนาสนามเด็กเล่นในโรงเรียนร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 แหล่งข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นโรงเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษา จำนวน 3 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) บุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 1 คน ผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน และครู 13 คน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย นักเรียน 8 คน สมาชิกภาคีเครือข่ายและพ่อแม่ผู้ปกครอง จำนวน 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดไม่จำกัดคำตอบ และคำถามที่ใช้เป็นคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการประเมินแบบองค์รวมและใช้การอ้างอิงร่องรอยหลักฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่สนามเด็ก-เล่น 2) เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของผู้เรียนจากการใช้สนามเด็กเล่น 3) กระบวนการใช้ประโยชน์จากสนามเด็กเล่นมีความเหมาะสม 4) ผู้เกี่ยวข้องมีความความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้สนามเด็กเล่น และ 5) เกิดบทเรียนและความสำเร็จของครูนักเรียน สมาชิกภาคีเครือข่ายจากการพัฒนาสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง
Article Details
All submitted articles are subject to academic validation by qualified experts (peer review). The opinions expressed in each article of this publication are those of the authors themselves. The editorial board holds no responsibilities on them and does not reserve the copyright for academic use with the condition that the reference of their origin is cited.
References
นิภา ศรีไพโรจน์. (2543). การประเมินโครงการ. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
รณิดา เชยชุ่ม, และ อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2558). การประเมินผลการขยายแนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองให้แก่บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรทางการศึกษาในเครือข่าย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์, อุษา ชูชาติ, อวยพร ประพฤทธิ์ธรรม, และ ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. (2544). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: สารเคมีในสมองกับความสุขและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2554). หลักการและเทคนิคการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL ช่วงอายุ 3-12 ปี: สมองเรียนรู้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2557). แผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2558 และแผนการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). [เอกสารประกอบการประชุม].
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.1). หลักการพัฒนาสมอง Brain – based learning. [เอกสารประกอบการอบรม].
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.2). สื่อการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง. [เอกสารประกอบการอบรม].
Caine, R. N., & Caine, G. (2009). Brain-based learning. from https://www.cainelearning.com/INTRODUCTIONS/TheCaines.html
Kaufman, E. K., Robinson, J. S., Bellah, K. A., Akers, C., Haase-Wittler, P., & Martindale, L. (2008). Engaging students with Brain-based learning. Techniques, 20(2), 50-55.
Sikora, D. (2013). What great teachers do?. Techniques, 25(2), 39-43.