ปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วัชระ ชัยเขต
ธิญาดา แก้วชนะ
ยุนิดา วิริโย
พล เหลืองรังษี

Abstract

 


The objectives of the research are to 1) study tourism of the Klong Dan community, 2) analyze tourists’ factors on choosing attractions online, and 3) compare the differences of the factors classified by different personal background.  The study found that the tourism of the community is under the campaign “Klongdan: the Buddhist Community”, operated following the Community-Based Tourism model. There are several tourism activities such as activities for learning the community’s local wisdom, culture and traditions, natural resources, and the floating market, in particular. These activities were effectively attractive.   Factor Analysis reveals that there are two main affective factors on choosing attractions online: (1) the users’ shared experiences about tourism and 2) their consumption behavior of information. The comparative analysis between differences of tourists’ personal background results that the difference of ages and occupations of the tourists is statistically effective to the choosing, at 0.05 levels of significance. Moreover, the analysis of different decision making and other variables for choosing the attractions finds no such effect.


 


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการท่องเที่ยวของชุมชนคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวชุมชนคลองแดน จังหวัดสงขลา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่า บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนคลองแดนภายใต้แคมเปญ “ชุมชนวิถีพุทธ คลองแดน” มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเป็นไปตามหลักการและรูปแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเพณีและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ตลาดน้ำคลองแดน ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการท่องเที่ยวของชุมชนคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวชุมชนคลองแดน จังหวัดสงขลา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จำแนกตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่า บริบทการท่องเที่ยวของชุมชนคลองแดนภายใต้แคมเปญ “ชุมชนวิถีพุทธ คลองแดน” มีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเป็นไปตามหลักการและรูปแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น กิจกรรมการเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเพณีและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ตลาดน้ำคลองแดน ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี   ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงองค์ประกอบ (Factor Analysis) พบว่า มี 2 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการถ่ายทอดประสบการณ์การท่องเที่ยว และ 2) ปัจจัยด้านการใช้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในสื่อสังคมออนไลน์  นอกจากนี้ ผลทดสอบสมมุติฐานการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีอายุ และอาชีพ แตกต่างกัน มีปัจจัยในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างของพฤติกรรมการเลือกแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในตัวแปรด้านอื่น ๆ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กฤษฎากร ชูเลม็ด. (2556). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ต และความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

กรมการท่องเที่ยว. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. จาก https://www.cbtdatabase.org/cat/community-tourism

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน ปี 2561. จาก https://www.amazingthailand.go.th/th/

ชนิตว์ปิยา แสงเย็นพันธุ์. (2554). ผลของข้อมูลจากสื่อออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริญ ลักษิตานนท์. (2553). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ประมาณ เทพสงเคราะห์. (2559). แหล่งท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดภาคใต้: สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช. จาก https://816soft.com/index.php?mod=SONGKHLA

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันท่องเที่ยวโดยชุมชน.

เลิศพร ภาระสกุล. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2559). หลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชน. จาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์. กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. จาก https://www.cbt-i.org/

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). สถิติการสรุปการชี้วัดการทำธุรกรรมด้านอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2557. จาก https://web.stoms.co.th/

ไทยตำบลดอทคอม. (2559). ข้อมูลตำบลคลองแดน อำเภอระโนด สงขลา. จาก https://www.thaitambon.com/tambon/900207

TAT Academy. (2560). สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 1 ปี 2560. จาก https://tatacademy.com/th/news/48