การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

ภาวิดา มหาวงศ์
พาสนา จุลรัตน์
อนุ เจริญวงศ์ระยับ
ช่อลัดดา ขวัญเมือง

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the definition of Rajabhat University’s student teacher spirituality and develop its indicators and 2) to validate the scale. The study of the definition was carried out by interviewing three academic experts in the work principles of His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej and that of the indicators by interviewing 25 teachers who won the “Kru Dee Nai Dunag Jai” award of 2017. Then, the scale was validated with 692 Rajabhat University’s student teachers. There were two main research instruments: interviews and a teacher spirituality scale. The obtained data were analyzed using Content Analysis, Discrimination, Alpha Coefficient, Construct Validity and Confirmation Factor Analysis. The objectives of this research were 1) to study the definition of Rajabhat University’s student teacher spirituality and develop its indicators and 2) to validate the scale. The study of the definition was carried out by interviewing three academic experts in the work principles of His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej and that of the indicators by interviewing 25 teachers who won the “Kru Dee Nai Dunag Jai” award of 2017. Then, the scale was validated with 692 Rajabhat University’s student teachers. There were two main research instruments: interviews and a teacher spirituality scale. The obtained data were analyzed using Content Analysis, Discrimination, Alpha Coefficient, Construct Validity and Confirmation Factor Analysis.  The results showed that teacher spirituality consisted of three main areas of origin: self-awareness (teacher’s personality, roles, and improvement), learners (teacher’s act of kindness and equal treatment of students), and the teaching profession (teacher’s good attitude and faith). The Rajabhat University student teachers’ spirituality scale is comprised of 55 items, classified into three main components with seven sub-components. (1) Self-awareness includes 13 items of a teacher’s personality with discrimination values ranked between 0.391 to 0.625; six items of a teacher’s roles with discrimination values ranked between 0.434 to 0.592; and eight items of teacher’s professional development, ranked between 0.322 to 0.692. (2) Learners includes nine items of teacher’s kindness towards students, ranked between 0.522 to 0.679, and seven items of teacher’s equal treatment of students ranked between 0.390 to 0.532. (3) The teaching profession includes 10 items, including a teacher’s good attitude towards the profession, ranked between 0.606 to 0.816, and two items of a teacher’s faith in the profession with each ranked at 0.584. Alpha Coefficient values of self-awareness, leaners, and the teaching profession were .885, .865, and .928, respectively. The Construct Validity showed a KMO value at 0.929 and that of Bartlett’s Test of Sphericity at 18299.246, situating at an average level. The Confirmation Factor Analysis revealed that the model was acceptably constituent with the empirical data, calculating from these following values: SRMR = 0.057, RMSEA = 0.044, CFI = 0.887 and TLI = 0.881.


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานิยามและพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการศึกษานิยามจิตวิญญาณความเป็นครูจากการสัมภาษณ์นักวิชาการที่มีความลุ่มลึกเกี่ยวกับหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และจิตวิญญาณความเป็นครู จำนวน 3 ท่าน และตัวบ่งชี้พฤติกรรมจากครูที่ได้รับรางวัลครูดีในดวงใจ ประจำปี 2560 จำนวน 25 ท่าน และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู จากนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 692 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าอำนาจจำแนก ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า และหาความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า จิตวิญญาณความเป็นครู ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านที่เกิดกับตนเอง ประกอบด้วย บุคลิกภาพความเป็นครู บทบาทหน้าที่ด้านการสอน และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพครู 2) ด้านที่เกิดกับผู้เรียน ประกอบด้วย การปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเมตตากรุณา และการปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเสมอภาค และ 3) ด้านที่เกิดกับวิชาชีพ ประกอบด้วย เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู และศรัทธาในวิชาชีพครู และแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีจำนวน 55 ข้อ แบ่งได้เป็น 3 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ด้านที่เกิดกับตนเอง ประกอบด้วย บุคลิกภาพความเป็นครู จำนวน 13 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.391-0.625 บทบาทหน้าที่ด้านการสอน จำนวน 6 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.434-0.592 และการพัฒนาตนเองในวิชาชีพครู จำนวน 8 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.322-0.692 2) ด้านที่เกิดกับผู้เรียน ประกอบด้วย การปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเมตตากรุณา จำนวน 9 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.522-0.679 และการปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยความเสมอภาค จำนวน 7 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.390-0.532 และ 3) ด้านที่เกิดกับวิชาชีพครู ประกอบด้วย เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.606-0.816 และศรัทธาในวิชาชีพครู จำนวน 2 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก เท่ากับ 0.584 เท่ากันทั้งสองข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ด้านที่เกิดกับตนเอง เท่ากับ .885 ด้านที่เกิดกับผู้เรียน เท่ากับ .865 ด้านที่เกิดกับวิชาชีพครู เท่ากับ .928 KMO = 0.929 และ Bartlett’s Test of Sphericity = 18299.246 มีความตรงเชิงโครงสร้างอยู่ในระดับพอใช้ โดยพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับที่ยอมรับได้ พิจารณาได้จากค่า SRMR = 0.057 ค่า RMSEA = 0.044 CFI = 0.887 TLI = 0.881

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัตติกา ภูหานาม, และ สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2560, กรกฎาคม). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์. ใน ดร.สาคร สร้อยสังวาล (ประธาน), การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.

กิตตินันท์ โนสุ, และ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2557). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ จิตวิญญาณความเป็นครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดภาคเหนือตอนบน. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย, 8(1), 53-65.

คุรุสภา. (2559). หลักเกณฑ์คุณสมบัติของสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน. จาก https://site.ksp.or.th/content.php?site=kspknowledge&SiteMenuID=4194&Action=view&Sys_Page=&Sys_PageSize=&DataID=430

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-16.

ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง, และ ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553). การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23(1), 25-54.

ดวงใจ ชนะสิทธิ์, ชัยยุทธ์ มณีรัตน์, และ พงษ์เทพ จิระโร. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 107-131.

ธนา นิลชัยโกวิทย์, และ อดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น การพิมพ์.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). ครูผู้สร้างโลก. กรุงเทพฯ: ธรรมศาลา.

มลิวัลย์ สมศักดิ์, นิตยารัตน์ คงนาลึก, ทิพวรรณ ทองขุนดำ, และ รพีพรรณ อักษราวดีวัฒน์. (2561). องค์ประกอบและตัวชี้วัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 51-58.

วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2557). ความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). ความเป็นครู: Self-actualization for teacher. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

สุนันท์ ศลโกสุม, และ ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2561). ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(supplement), 9-21.

สุพิชญา โคทวี, และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2557). พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. จาก https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/NU.the.2014.101

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2559). ตามรอยพระยุคลบาท ครูแห่งแผ่นดิน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2551). เรื่องจากปก ความรู้ และความรัก...คำจาก “ครูของครู” ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์. จาก https://www.nationejobs.com/citylife/content.php?ContentID=1061

อรอุมา เจริญสุข. (2557). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดจิตวิญญาณความเป็นครู ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.5 ปี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2), 189-208.

Boone, M., Fite, K., & Reardon, R. F. (2010). The spiritual dispositions of emerging teacher: A preliminary study. Journal of Thought, 45(3-4), 43-58.

Bush, T. (1999). Journaling and the teaching of spirituality. Nurse Education Today, 19(1), 20-28.

Fowler, J. (1981). James Fowler’s stages of faith. Retrieved from https://www.psychologycharts.com/james-fowler-stages-of-faith.html

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.

Kenny, D. A. (1998). Multiple factor models. Retrieved from https://davidakenny.net/cm/identify_formal.htm

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. New York: Routledge.