ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ปาริฉัตร รุ่งเรืองณัฐกุล
บัญชา สมบูรณ์สุข
อยุทธ์ นิสสภา
ปองพชร ธาราสุข

Abstract

This study is about the motivation factors that affect rubber farmers in Na Thawi District of Songkhla Province to be “smart farmers.” Its aim was to study 1) the economic and social conditions of the households of rubber farmers in Na Thawi district of Songkhla province, 2) the motivation factors of becoming “smart farmers” and 3) analyze the factors. Data collection was carried out by structured interviews with a sample group of 370 farmers. The mean, percentage, standard deviation, and multiple regressions were used for data analysis. The results indicated the average age of the rubber farmers was 48.19 years old; rubber farming was their main occupation; their average income earned per month was 9,040.82 baht; and their average years of experience working with rubber plantations were at 19.49 years. Motivation factors that affect the rubber farmers to become smart farmers, including individual, economic, social and production, were at high level of influence. Out of fifteen, eight independent variables were influential for becoming smart farmers at a significant level of 0.01 and with 50.40 percentage of prediction ability. The motivation factors that had positive relationships for becoming smart farmers were the farmers’ educational duration, experiences in rubber plantation, the number of family members, support from the government, and the production quantity. The motivation factors that had negative relationships for becoming smart farmers were the farmer’s age and expenditures and savings, with a 0.01 significant level. 


บทคัดย่อ


งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา 2) ปัจจัยจูงใจและการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ และ 3) การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 ครัวเรือน วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวสวนยางพารามีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 48.19 ปี ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก โดยมีรายได้จากการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 9,040.82 บาทต่อเดือน ประสบการณ์การทำสวนยางพาราเฉลี่ย 19.49 ปี ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และการผลิต ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจากตัวแปรอิสระทั้ง 15 ตัวแปร มีตัวแปรอิสระ จำนวน 8 ตัวแปร ที่มีผลต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถทำนายการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะได้ร้อยละ 50.40 (R Square=0.504) ซึ่งปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในการเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ คือ ระยะเวลาในการศึกษาของเกษตรกร ประสบการณ์การทำสวนยางพารา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การสนับสนุนจากภาครัฐ และปริมาณผลผลิต ปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการเข้าสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ คือ อายุของเกษตรกร รายจ่ายของครัวเรือน และเงินออมของครัวเรือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). เกษตรกรอัจฉริยะ. จาก https://www.opsmoac.go.th/strategic-files-391191791803

__________. (2559). จำนวนพื้นที่ปลูกยางในภาคใต้. จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/rubber.pdf

__________. (2560). เกษตรกรปราดเปรื่อง. จาก www.thaismartfarmer.net

ณัฏฐนันท์ โพธิจันทร์. (2559). ศึกษาความต้องการการช่วยเหลือของเกษตรกรชาวสวนยางในความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอแกลง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ดนัย ปัตตพงศ์. (ม.ป.ป.). เอกสารวิชาการด้านศาสตร์การวิจัยและสถิติประยุกต์. จาก http://it.nation.ac.th/faculty/.pdf
นัทธ์หทัย ศิริวริยะสมบูรณ์, ธํารงค์ เมฆโหรา, และ ทิพวรรณ ลิมังกูร. (2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 59-67.

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2560). การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(2), 20-37.

ฤทัยชนก จริงจิตร. (2556). เจาะลึก “Smart Farmer” แค่แนวคิดใหม่หรือจะพลิกโฉมการเกษตรไทย. จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 199-215.

ศันสนีย์ กระจ่างโฉม, สุดารัตน์ อุทธารัตน์, ณัฐสิทธิ์ ศรีนุรักษ์, และ อุบลรัตน์ หยาใส่. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจของทายาทเกษตรกรในการสานต่ออาชีพเกษตรในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร, 32(1), 29-38.

สถาบันพัฒนาสิ่งทอ. (2560). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. จาก http://www.thaitextile.org

สมปอง สองเมือง. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดพัทลุง (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สำนักงานเกษตรอำเภอนาทวี. (2557). แผนงานโครงการ. จาก http://nathawi.songkhla.doae.go.th/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). จาก http://www.ic.moi.go.th/doc/bmt29/slide/2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. จาก https://www.nesdb.go.th/download/plan12 %B9%8812.pdf

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). เนื้อที่กรีดได้ ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของยางพารา ในปี 2557 ถึง 2559. จาก http://www.oae.go.th.

สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2558). สถานการณ์ยางพาราและการปรับตัวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. จาก http://eris.nesdb.go.th.pdf.

สุรพงษ์ คงสัตย์, และ ธีรชาติ ธรรมวงศ์. (2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). จาก http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=988

อรนิภา สีคุณน้ำเที่ยง, และ ชัยชาญ วงศ์สามัญ. (2560). แรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรในอนาคตของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นในจังหวัดอุดรธานี. วารสารแก่นเกษตร, 45(1), 1497-1502.

Kontogeorgos, A., Michailidis, A., Chatzitheodoridis, F, & Loizou, L. (2014). “New farmers” a crucial parameter for the Greek primary sector: Assessments and perceptions. J. Procedia Economics and Finance, 14(1), 333-341.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.