องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

สุกรี แวมูซอ
สุจิตรา จรจิตร
กิตติพร เนาว์สุวรรณ

Abstract

This research aimed to study and analyze strategic management factors and indicators of the Offices of Private Education in Southern Border Provinces. The study was conducted using the mixed-methods research approach and a sequential design within two phases of data collection. In Phase I, a qualitative research approach using documentary analysis of related studies and in-depth interviews of 15 experts who were purposively selected was employed to determine strategic management factors and indicators of the offices. The criterion for analyzing the in-depth interview questions, as the research instrument, was content-word frequency which was not less than 50 percent of the number of the informants. Phase II, wherein a quantitative research approach was employed, was to analyze strategic management factors and indicators of the offices. The 480 samples, after the use of stratified random sampling, were offices’ administrators, civil servant teachers, and staffs. The research instruments were questionnaires that were validated by seven experts with CVI value of 0.96. The revision and testing to reaffirm reliability were carried out with 30 sample subjects whose attributes were similar to the research sample groups. The Cronbach alpha’s coefficient was .917. Exploratory Factor Analysis (EFA) was utilized at this phase, using the principal component analysis and Orthogonal Rotation with Varimax. The study found that: 1) There were seven strategic management factors and 70 indicators of the offices. These factors included leadership, strategic management, customers and stakeholders, knowledge management, personnel development, system of the operation, and performance-based assessment. The results of the underlying factor and indicator structure indicated six factors and 56 indicators. Factor 1 (operation and assessment) was comprised of 24 indicators. Factor 2 (customers and stakeholders) was comprised of eight indicators. Factor 3 (leadership) was comprised of seven indicators. Factor 4 (strategic management) was comprised of nine indicators. Factor 5 (personnel development) was comprised of four indicators. Factor 6 (knowledge management and analysis) was comprised of four indicators.


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี เป็นแบบแผนลำดับขั้น ประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทาง คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์เนื้อหา คือ ความถี่ของประเด็นเนื้อหาไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ให้ข้อมูล ระยะที่ 2 วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ข้าราชการครูและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดและอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 480 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้ค่าดัชนี CVI เท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค โดยทดลองใช้กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าเท่ากับ .917 และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 70 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านการนำองค์กร ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และด้านการประเมินผลการดำเนินการ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงานการศึกษาเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ได้องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 6 องค์ประกอบ 56 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติงานและประเมินผล 24 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 8 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการนำองค์กร 7 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 9 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการพัฒนาบุคลากร 4 ตัวบ่งชี้ และ 6) ด้านการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 4 ตัวบ่งชี้

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2552). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ชลธิชา จิรภัคพงค์. (2556). คุณภาพการบริหารองค์กรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ (รายงานการวิจัย). แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้: พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ต.

พิสัณห์ นุ่นเกลี้ยง (2556). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพมหานคร.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2549). หลักการและการใช้สถิติการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัว สำหรับการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2554). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอสเอนจีกราฟิค.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 14.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558 (Public Sector Management Quality Award). กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2554). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการวิจัย) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_________. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อ่องจิต เมธยะประภาส. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานด้วยวิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

เอกชัย กี่สุขพันธ์, และ คมกริบ ธีรานุรักษ์. (2553). การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา (Leading organization and educational management technology). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson, D., Jornson, R., & Milligan, B. (1999). Strategic planning in australian universities. Australia: Dept of Education, Training and Youth Affairs.

Bryson, J. M., & Alston, F. K. (2005). Creating and implementing your strategic plan. San Francisco: Jossey Bass.

Certo, S. C., & Peter, J. P. (1991). Strategic management: Concept and applications. New York: McGraw-Hill.

Covey, S. R. (1999). The 4 roles of leadership. New York: Franklin Covey Company.

Costello, A. B., & Osborne, J. W. (2005). Best practices in exploratory factor analysis: Four recommendations for getting the most from your analysis. Practical Assessment Research & Evaluation, 10(7), 1-9.

Dess, G. G., & Miller, A. (1993). Strategic management. Singapore: McGraw-Hill.

Higgins, J. M., & Vincze, J. W. (1993). Strategic management concepts. New York: Dryden Press.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Peters, T. J., & Waterman Jr, R. H. (1982). In search of excellence. New York: Harper & Row.

Robbins, S. P., & Coulter, M. K. (2007). Management (9th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Swansburg, R. S., & Swansburg, R. J. (2002). Introduction to management and leadership for nurse managers (3rd ed). Sudbury, Massachusetts: Jones & Bartlett Publishers.

Thompson Jr, A. A., & Strickland III, A. J. (1995). Strategic management: Concept and cases (8th ed). New York: Business.

Wheelen, T. L., & Hunger, D. J. (2002). Strategic management and business policy (8th ed). New Jersey: Prentice Hall.