การจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

ทัชชกร บัวล้อม

Abstract

 


The objectives of this study were to analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats (a SWOT analysis) of small and medium logistic service providers in Chiang Mai and to study strategic management of the providers for the challenges of ASEAN Economic Community. In-depth interviews highlighting key issues were applied as the tool for data collection of this qualitative research. The total number of participants was 31 and included small and medium logistic service providers, scholars, and other representatives. The finding from SWOT analysis revealed that the strengths of the providers are having expertise, a local understanding of the marketing culture, and a group of regular customers. The weaknesses of the providers are lack of vision, funding, technologies, and business networks. While the major opportunities of the providers are the ability to expand markets and to form up networks, the threats of the providers are the increase of effective business competitors. The providers’ strategic management is operated in three stages: planning, perations, and follow-up. Most of the activities during the planning stage are not carefully planned but there is an emphasis on top-down operational authority. During the operations stage, strategic management is focused on maintaining customer’s relations and lowering pricesof the products. In the follow-up stage, the result shows that there was no systematic follow-up


 


บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 2) ศึกษาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการรองรับการแข่งขันในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีแบบสัมภาษณ์ที่กำหนดกรอบประเด็นคำถามสำคัญเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บข้อมูลจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนตัวแทนนักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 31 ราย ผลการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่สำคัญของผู้ให้บริการ พบว่า มีจุดแข็ง คือ ความชำนาญและเข้าใจวัฒนธรรมการค้าในท้องถิ่น ตลอดจนมีฐานลูกค้าประจำ จุดอ่อน คือ การขาดวิสัยทัศน์ ขาดเงินทุน และเทคโนโลยี ตลอดจนไม่มีการรวมกลุ่มหรือสร้างพันธมิตร ด้านโอกาส คือ การขยายตลาดลูกค้าและการสร้างพันธมิตรเพิ่มขึ้น และอุปสรรค คือ คู่แข่งขันมีจำนวนมากขึ้นและศักยภาพสูง ด้านจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ พบว่า ในขั้นการวางแผนกลยุทธ์ ส่วนใหญ่ไม่มีการวางแผนชัดเจน แต่เน้นการสั่งการจากเจ้าของลงมา (Top-Down) ขั้นการดำเนินกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าและการกำหนดราคาต่ำ ขั้นการติดตามกลยุทธ์ พบว่า ไม่มีการติดตามอย่างเป็นระบบ แต่เน้นรับฟังข้อร้องเรียนจากลูกค้า และแก้ไขตามสถานการณ์

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2555). ธุรกิจบริการ: โลจิสติกส์. จาก https://www.dtn.go.th/files/94/Media/Mk/logis29-05-55.pdf

จามร สุวรรณฉาย. (2550). แนวทางการประยุกต์ระบบต้นทุนกิจกรรมกับธุรกิจโลจิสติกส์ในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จารุณี ทองไพบูลย์กิจ. (2555). SMEs จะมีกลยุทธ์การปรับตัวเชิงรุกและเชิงรับอย่างไรต่อ AEC. อุตสาหกรรมสาร, 54, 17-18.

ณักษ์ กุลิสร์. (2554). ธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เดวิด, เอ็ฟ. อาร์. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์. แปลจาก Strategic management concepts and cases. แปลโดย สาโรจน์ โอ พิทักษ์ชีวิน. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2550). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: การปรับตัวและกำหนดกลยุทธ์เชิงรุกสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของไทย. จาก https://www.freightmaxad.com/magazine/?p=2556

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์, พอพันธ์ วัชรจิตพันธ์, อารีย์ พิจิตรกล้าเอี่ยม, และ พิทักษ์พงศ์ ฉลวยศรี. (2552). การศึกษาความพร้อมและการปรับตัวของสาขาบริการโลจิสติกส์ของไทยต่อการเปิดเสรีการค้าบริการ (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพพร วาสุเทพรังสรรค์. (2542). การศึกษาโครงสร้างตลาดและกลยุทธ์การแข่งขันในอุตสาหกรรมเบียร์ของไทย จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นันทิ สุทธิการนฤนัย, และ ศิวณัส อรรฐาเมศร์. (2556). วิสัยทัศน์ต่อธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยในวงล้อของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. จาก https://www.logistics.go.th/th/news-information/bol-article/856-1-gujranwala-3

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2550). โลจิสติกส์: ก้าวย่างประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พัชรี แซ่เตีย. (2553). บทบาทหน้าที่ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์. จาก https://logisticscorner.com/index.php/2009-05-25-00-45-43/logistics/1958-third-party-logistics.html

ลุกซ์, อาร์., และ คอลลิส, ดี. เจ. (2548). กลยุทธ์: การสร้างและการนำไปปฏิบัติ. แปลจาก Strategy : Creating and Implementing strategy. แปลโดย จักร ติงศภัทิย์. กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

สมคิด บางโม. (2551). องค์กรและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.

สถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2553). การเปิดเสรีโลจิสติกส์อาเซียน: โอกาส ผลกระทบและการปรับตัวของผู้ประกอบการไทย. จาก https:// www.Thaifta.com/thaifta/…/รายงานฉบับสมบูรณ์-โลจิสติกส์อาเซียน.pdf

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดใจ วันอุดมเดชาชัย. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุนทรี เจริญสุข. (2555). การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กรณีศึกษา บริษัท วีเซิร์ฟโลจิสติกส์ จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, กรุงเทพฯ.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า จังหวัดเชียงใหม่. (2557). สถิติผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนธุรกิจ. จาก https://www.dbd.go.th/Chiangmai/more_news.php?cid=2&filename=index

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). Gross provincial product new series at current market prices 2011p. จาก https://surat.old.nso.go.th/surat/REPORT/Table56/No.8.pdf

เอกชัย อภิศักดิ์กุล. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮิทท์, เอ็ม. เอ., ฮอสคิสสัน, อาร์. อี., และ ไอร์แลนด์, อาร์. ดี. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. แปลจาก Strategic Management. แปลโดย เอกชัย อภิศักดิ์กุล, และ ทรรศนะ บุญขวัญ. กรุงเทพฯ: Cengage Learning.

Hill, C. (2007). International business: Competing in the global marketplace. New York: McGraw-Hill/Irwin.