เครือข่ายทางสังคมเพื่อการจัดการความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากป่า: กรณีศึกษาเครือข่ายลุ่มน้ำจาง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

เกศสุดา สิทธิสันติกุล
อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ
สมคิด แก้วทิพย์

Abstract

This study aimed to investigate what the conflict situation was, how a social network of conflict
management on the use of forests was initiated, what its roles to manage the conflict were, and what factors made it exist. Data were collected by area survey, document analysis, in-depth interviews, and focus groups conducted in the area of the Jang Watershed Network, Mae Tha District, Lampang Province. The results indicated the following: 1) The use of forests caused conflict between villagers against villagers at Jang watershed and between the villagers against people outside Jang watershed. 2) The network was informally founded by a gathering of leaders from each village in the surrounding areas under “the Jang Watershed Network” with the intention of managing natural resources at Jang watershed. 3) This network played a role in conflict management by building understanding and participation of the community, acting as a mediator in cases of intense conflicts that outweighed the management potential of each village, and helping the network’s members to conserve forests according to the request of neighboring villages. 4) The factors that made it exist. The network was able to exist due to the potentials of its leaders, the efficiency of communication channels, the leadership skills training program of young leaders, the focus on participation, and the mobilization of funds and resources.


 


บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความขัดแย้ง การก่อตัวของเครือข่าย บทบาทของเครือข่าย
ในการจัดการความขัดแย้งด้านการใช้ประโยชน์จากป่า รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ของเครือข่าย โดย
ดำเนินการในพื้นที่เครือข่ายลุ่มน้ำจาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจพื้นที่
การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) มีความขัดแย้ง
ในการใช้ประโยชน์จากป่าระหว่างคนในชุมชนบริเวณลุ่มน้ำจาง และระหว่างคนในหมู่บ้านกับคนนอกชุมชน
2) ลักษณะการก่อเกิดของเครือข่ายลุ่มน้ำจางเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยการรวมตัวของแกนนำชุมชนระหว่าง
หมู่บ้านในลุ่มน้ำเดียวกัน เพื่อร่วมกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำจาง 3) เครือข่ายลุ่มน้ำจางมีบทบาทใน
การจัดการความขัดแย้งโดยการสร้างความเข้าใจและการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน การเป็นคนกลางเจรจา
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ค่อนข้างรุนแรงเกินศักยภาพการจัดการของแต่ละหมู่บ้าน และการให้ความช่วยเหลือสมาชิก
เครือข่ายด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ตามที่ได้รับการร้องขอ 4) ปัจจัยการดำรงอยู่ ได้แก่ ศักยภาพผู้นำ ประสิทธิภาพของ
ช่องทางการสื่อสาร การพัฒนาแกนนำรุ่นใหม่ การให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วม และการแสวงหาทุน
และทรัพยากรดำเนินงาน

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กิติชัย รัตนะ. (2551). กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งและข้อพิพาทในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ: แนวคิด กระบวนการตัดสินใจ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการแก้ไขความขัดแย้งและข้อพิพาทในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปริวัตร์ นันติ. (2555). ความขัดแย้งระหว่างสิทธิชุมชนกับอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐ: กรณีศึกษาองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้กับชาวบ้านป่าสักงาม ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.

ประเวศ วะสี. (2541). ชุมชนเข้มแข็ง ทุนทางสังคมของไทย. หนังสือชุดชุมชนเข้มแข็ง (ลำดับที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารออมสิน.

เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์. (2549). การจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยสันติวิธี. เวทีสิ่งแวดล้อม เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 37 สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่ายธรรมชาติ: ความรู้และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).

ภัทรพล พลพนาธรรม, ปาริชาติ รัตนบรรณสกุล, และ ปรมาภรณ์ สุกใส. (2553). เครือข่ายทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำบางกอกน้อย อำเภอบางนที จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์. (2545). การพัฒนาเครือข่ายป่าชุมชน ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมพันธ์ เตชะอธิก, ปรีชา อุยตระกูล และ ชื่น ศรีสวัสดิ์. (2537). ศักยภาพและเครือข่ายผู้นำชาวบ้าน คู่มือทิศทางการพัฒนาผู้นำชาวบ้านเพื่อแก้ปัญหาในชนบท. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย ยุทธวิธีเพื่อประชาคนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). พลวัตในการจัดการทรัพยากร กระบวนทัศน์และนโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อัจฉรา รักยุติธรรม. (2543). เครือข่ายชาวบ้าน: การจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. เอกสารประกอบการสัมมนา (ชุดที่ 2/4). เชียงใหม่: มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ.

Boissevain, J. (1974). Friends of friends: Network, manipulators and coalitions. Oxford: Basil Blackwell.

Buckles, D. (1999). Cultivating peace: Conflict and collaboration in resource management. Ottawa, ON: International Development Research Centre.

Castro, A. P., & Nielsen. E. (2003). Natural resource conflict management case studies: An analysis of power, participation and protected areas. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations.

De Jong, W., Donovan, D., & Abe, K. I. (2007). Extreme conflict and tropical forests (Vol. 5). Springer Science & Business Media.

Mola-Yudego, B., & Gritten, D. (2010). Determining forest conflict hotspots according to academic and environmental groups. Forest Policy and Economics, 12(8), 575-580.

Walch, K. S. (2011). Seize the key: 9 secrets of negotiation power: Student version. N.P.:Lulu Press.

Yasmi, Y., Kelley, L. & Enters, T. (2011). Forest conflict in Asia and the role of collective action in its management. Retrieved from https://dx.doi.org/10.2499/CAPRiWP102