การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

ผู้แต่ง

  • สันติ พันธ์พุฒ โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ การเรียนรู้แบบ Active Learning

บทคัดย่อ

          การประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (PLC)    เพื่อส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ของโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)    มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อประเมินโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน  ด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning 3) เพื่อถอดบทเรียนโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น ครู 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน ผู้ปกครอง 169 คน และนักเรียน 169 คน

          ผลการประเมินพบว่า  1) การดำเนินงานโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)  เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน  ด้านการ ถ่ายโยงความรู้  มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก  2) แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning สรุปได้ว่า การขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่สถานศึกษา ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ครูที่เข้าร่วมโครงการนำกระบวนการตามกรอบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง ต้องเลือกวิธีการหรือแนวทางที่ดีที่สุด และครูที่เข้าร่วมต้องเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้สมาชิกได้รับทราบร่วมกัน สมาชิกมีภาวะผู้นำ และผู้ตามที่เหมาะสม มีการตัดสินใจร่วมกัน สมาชิกในทีมการนำเอาทักษะความรู้ ความสามารถที่หลากหลายของสมาชิกในทีมเขามาทำงานร่วมกันโดยการผสมผสานความคิด เพื่อแสวงหาจุดร่วมของการทำงาน  3) การถอดบทเรียน สรุปว่า สมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) บางส่วนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานน้อย จึงต้องผลักดันการดำเนินงานโครงการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้อยู่ในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)  เนื่องจากทำให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่รับรู้โดยทั่วถึงกัน และยึดถือที่จะต้องรับผิดชอบการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งจะทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากร ทั้งงบประมาณ บุคลากร เวลา และสถานที่ให้กับการดำเนินงานเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิผลดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-23