การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีสำหรับเด็ก โดยใช้หลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟเพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติด้านดนตรี สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • พิศสุดา สีอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • อัญชลี แสงอาวุธ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • กฤษณี สงสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, หลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ วิชาดนตรีสำหรับเด็ก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80, 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติด้านดนตรีของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีสำหรับเด็กโดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟก่อนเรียนกับหลังเรียน, 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีสำหรับเด็กโดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟก่อนเรียนกับหลังเรียน, 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีสำหรับเด็ก โดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนจอย สุราษฎร์ธานี โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับเด็กโดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 5 ชุด แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีสำหรับ จำนวน 15 ข้อ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติทางด้านดนตรี จำนวน 6 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาดนตรีสำหรับเด็ก โดยหลักการเรียนรู้ตามแนวคิดของคาร์ลออร์ฟ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติด้านดนตรี สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ โดยมีค่าประสิทธิภาพ 84.80/87.89 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80,  2) ทักษะปฏิบัติด้านดนตรีหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-16