ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา:บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม

ผู้แต่ง

  • อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดำรงค์ ถาวร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธัญชนก วิจิตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: แรงจูงใจในการทำงาน บรรยากาศองค์กร ความสุขในการทำงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กร และความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม  (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน และปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม  จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติวิเคราะห์ T-test, One-Way ANOVA และ Multiple Regression ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปวช./เทียบเท่า ปวช. มีสถานภาพสมรส มีอายุงาน 1-5 ปี และอายุงาน 6-10 ปี อยู่แผนกน้ำมะพร้าว และจากกลุ่มตัวอย่าง เพศ อายุ สถานภาพสมรส และอายุงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสุขในการทำงานไม่ แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และแผนกงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความสุขในการทำงานแตกต่างกัน และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ ด้านความสำเร็จ ในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ และเงินเดือน ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ โครงสร้างองค์กร การยอมรับความขัดแย้ง และความสุขในการทำงานของ พนักงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความรื่นรมย์ในงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนั้น องค์กรควรหาสิ่งจูงใจที่จะสามารถช่วยเพิ่มความสุขในการทำงานให้แก่พนักงาน รวมทั้ง องค์กรควรมุ่งสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีและเหมาะสมให้กับพนักงาน เพื่อที่พนักงานจะได้ทำงานอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น สามารถเขียนเป็นสมการตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน คือ Y = 0.235(X1) + 0.213(X2) + 0.122(X10) + 0.153(x12) + 0.126(X16) โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถทำนาย ความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 36.5 

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14