แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนปลักไม้ลาย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวโดยชุมชน,การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน,การจัดการการท่องเที่ยว,9 1 Building Blocks,ศักยภาพชุมชนปลักไม้ลายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพ และแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนปลักไม้ลาย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 9 คน โดยมีแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากการนำแนวคิดทฤษฎีด้านองค์ประกอบศักยภาพทางการท่องเที่ยว 5 ด้าน แผนผังความคิด 9+1 Building Blocks และการจัดการการท่องเที่ยว 4 ด้าน ผลการวิจัยด้านศักยภาพ พบว่า ชุมชนปลักไม้ลายมีสิ่งดึงดูดใจคือสวนป่าสมุนไพรที่มากกว่า 500 ชนิด และศูนย์การเรียนรู้การทำเกษตรกรรมเกษตรอินทรีย์ ด้านการเดินทางสามารถเดินทางได้มายังพื้นที่ได้หลายเส้นทาง ด้านที่พักมีรีสอร์ทและโรงแรมรองรับในปริมาณน้อย ด้านกิจกรรมมีกิจกรรมเรียนรู้สมุนไพร กิจกรรมเกษตรอินทรีย์ และศูนย์ฝึกปฏิบัติธรรม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกระบบไฟฟ้า สาธารณูปโภคเข้าถึง ห้องน้ำและที่จอดรถเพียงพอ ด้านแผนผังความคิด 9+1 Building Blocks มีครบทุกองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบยังไม่เป็นจุดเด่น ด้านการจัดการ การวางแผนผ่านผู้นำชุมชน ด้านการจัดองค์กรมีการตั้งวิสาหกิจชุมขนแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านผู้นำพบว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าอาวาส เป็นผู้นำและช่วยวางแผนให้ชุมชน ด้านการควบคุมมีกระบวนการในการจัดตั้งวิสาหกิจที่คอยตรวจทานงาน และผลประโยชน์ของชุมชน