การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร รุ่งเช้า โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ)

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ของครู, กระบวนการคิดเชิงออกแบบ, การคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนารูปแบบ เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินประสิทธิผลและถอดบทเรียนรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research  and Development: R&D) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครู จำนวน 48 คน นักเรียน จำนวน 274 คน และกลุ่มเป้าหมายการถอดบทเรียนและการสะท้อนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร/ครูผู้สอน/คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/ผู้ปกครอง/นักเรียน จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนจากการวิเคราะห์ควรส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบ 2) ผลการพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ได้รูปแบบ UDBP Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การเรียนรู้และเข้าใจปัญหาให้ถูกต้อง (Understand: U)  การระบุประเด็นปัญหา (Define: D) การระดมความคิดและการมีส่วนร่วม (Brainstorm and Participation: B) และต้นแบบและผลกระทบ (Prototype and Feedback: P) 3) การทดลองใช้รูปแบบ โดยการทดสอบความรู้ความสามารถของครู พบว่า หลังการอบรมครูมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 4) การประเมินผลรูปแบบสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กระบวนการ Design Thinking เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-08