การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ)

ผู้แต่ง

  • บรรจง น้อยพันธุ์ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ)

คำสำคัญ:

กิจกรรมนอกห้องเรียน, ทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างรูปแบบ ทดลองใช้ และประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research  and Development: R&D) ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ คือ ผู้บริหาร/ครู/คณะกรรมการสถานศึกษาฯ/ผู้ปกครอง/นักเรียน จำนวน 20 คน กลุ่มเป้าหมายในการรับรองรูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู/นักเรียน จำนวน 322 คน และกลุ่มเป้าหมายในการการถอดบทเรียน คือ ครู/นักเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียน แบบสอบถาม แบบประเมินสมรรถนะ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ และการถอดบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการและแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) พบว่า ต้องมีการบริหารจัดการโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเร่งพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือเทคโนโลยี และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อทำงานได้สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมุ่งเป้าเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ใช้รูปแบบ PKNT Model สรุปองค์ประกอบ 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน (Planning: P) การให้ความรู้ (Knowledge: K) เครือข่ายวิชาการ (Networking: N) และ การขยายผล (Transportability: T) 3) การทดลองใช้รูปแบบโดยการจัดอบรม พบว่า การทดสอบความรู้ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.63 และหลังการอบรม 17.28 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน พบว่า หลังการอบรมครูมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 4) การประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) พบว่า การประเมินระดับความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้กิจกรรมนอกห้องเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การประเมินระดับสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครู ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการประเมินระดับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-08