แนวทางการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ปุณยพัฒน์ อัศวศิริสุข สาขาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชนิสรา แก้วสวรรค์

คำสำคัญ:

ธรรมาภิบาล, การบริหารจัดการ, หินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองหินในจังหวัดสระบุรี โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการใช้ประชากรทั้งหมด 22 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมินความคิดเห็น ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยได้ค่า IOC ของข้อคำถามมากกว่า 0.50 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการลงพื้นที่เข้าพบกลุ่มตัวอย่างตามนัดหมาย แล้วจึงใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ รอบที่ 1 ประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ รอบที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของข้อคำถามโดยใช้เกณฑ์ ค่ามัธยฐานมากกว่า 3.5 IQR ไม่เกิน 1.5 และค่าความต่างของฐานนิยมกับมัธยฐาน ไม่เกิน 1 และรอบที่ 3 ยืนยันผลการประเมินความเหมาะสมโดยใช้การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Kruskal-Wallis one-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนิติธรรม 19 ตัวชี้วัด 2) ด้านคุณธรรม 9 ตัวชี้วัด 3) ด้านความโปร่งใส 8 ตัวชี้วัด 4) ด้านการมีส่วนร่วม 9 ตัวชี้วัด 5) ด้านสำนึกรับผิดชอบ 12 ตัวชี้วัด และ 6) ด้านความคุ้มค่า 12 ตัวชี้วัด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14