การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • มุทิตา เอี่ยมทิพย์ โรงเรียนหนองรีประชานิมิต

คำสำคัญ:

การสนทนากลุ่ม, เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล, การวิจัยเชิงคุณภาพ

บทคัดย่อ

          การสนทนากลุ่มเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากซึ่งเน้นกระบวนการสนทนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอภิปรายร่วมกันของบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือ มีประสบการณ์ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญของ การสนทนากลุ่ม คือ แนวคำถามในการสนทนา หรือประเด็นที่มีความชัดเจน และมีการเรียงลำดับเป็นอย่างดี ซึ่งก็มีคำถามนำ คำถามหลัก และคำถามเพื่อการสรุป ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่สนทนา ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเป็นผู้ดำเนินการสนทนากลุ่ม นอกจากนั้นต้องมีเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ ผู้จดบันทึก และเจ้าหน้าที่บริการทั่วไป รวมทั้งมีอุปกรณ์ สถานที่ และการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม ลักษณะของผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มที่ดี ต้องมีความสุภาพ จริงใจ เคารพในผู้ร่วมสนทนาและแสดงบทบาทเป็นผู้อำนวยให้การสนทนามีความราบรื่น สำหรับข้อจำกัดในการสนทนากลุ่มพบว่า ข้อมูลจากกลุ่มแต่ละกลุ่มไม่สามารถเป็นตัวแทนของสังคมหรือวัฒนธรรมที่ผู้ร่วมสนทนาดำเนินชีวิตอยู่ได้ ใช้อธิบายได้เฉพาะกับบริบทของกลุ่มนั้น ๆ เท่านั้น การคัดเลือกสมาชิกผู้เข้าร่วมวงสนทนา จะต้องได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยต้องมีลักษณะต่าง ๆ ที่เหมือนกัน (Homogeneous) ไม่ข่มซึ่งกันและกัน รวมทั้งยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ อีกหลายประการ ในการดำเนินการซึ่งหากการดำเนินการไม่เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อการสนทนาและผลการวิจัยที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่สามารถตอบคำถามการวิจัยได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-14