ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ด้วงจันทร์
  • สุรินทร์ ชุมแก้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เกวลิน สุวรรณศิลป มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ณิชมน ขันแกล้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • รจนา เสนศรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศุภวัฒน์ แซ่โค้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อนันตญา หนูชัยแก้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของมิติด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ได้แก่ ทัศนคติการเป็นผู้ประกอบการ บรรทัดฐานส่วนบุคคล การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรม และการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกรอบแนวคิดทางด้านการวิจัยพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ร่วมกับปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนในการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer: YSF) ในเครือข่ายศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ จำนวน 181 คน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมและบรรทัดฐานส่วนบุคคล ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 25.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้นำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการเชิงนโยบายและส่งเสริมในการเป็นผู้ประกอบการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพและความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15