ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) และการบริหารคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งองค์กร (TQEM) ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน (CSP) ของอุตสาหกรรมผลิตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิกุล ถาวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นิโรจน์ สินณรงค์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เกศสุดา สิทธิสันติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ชัยยศ สัมฤทธิ์สกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร, การบริหารคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งองค์กร, ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน, อุตสาหกรรมผลิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) และปัจจัยการบริหารคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งองค์กร (TQEM) ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน (CSP) ประชากรในการศึกษาคือ ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามลักษณะงานของบริษัทในอุตสาหกรรมผลิต  ในประเทศไทยโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 416 รายและเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผลการตรวจสอบความตรงของเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.50 – 1.00 ผลการทดสอบหาค่าความเชื่อมั่นมีค่าอยู่ระหว่าง 0.64 - 0.94 ผลการทดสอบค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแต่ละข้อคำถามมีค่าอยู่ระหว่าง 0.45 – 0.90 ผลการทดสอบผลการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า โดยปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กรและปัจจัยด้านการบริหารคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั่วทั้งองค์กร มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนเท่ากับ 0.93 และ 0.39 ตามลำดับ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรอิสระด้านการวางแผนกลยุทธ์ (TQMSP) ของปัจจัยการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM) มีค่าองค์ประกอบมากที่สุดโดยมีค่าเท่ากับ 1.50 ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรอิสระด้านการมุ่งเน้นลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (TQEMCF) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดเท่ากับ 0.95 ส่วนด้านตัวแปรตามผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืน (CSP) พบว่า ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนด้านสังคม (CSPSP) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดเท่ากับ 1.14 และด้านผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ (CSPEP) มีค่าองค์ประกอบน้อยที่สุดเท่ากับ 1.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15