การศึกษาเงื่อนไข และเกณฑ์ในการกำหนดค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพให้เป็นที่ยอมรับของนายจ้างและลูกจ้าง ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ผู้แต่ง

  • ขวัญหทัย ลม้ายจำปา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • บรรพต วิรุณราช มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เงื่อนไข, เกณฑ์, ค่าแรงที่เหมาะสม, สูตรคำนวณค่าแรง, อุตสาหกรรม 4.0

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาเงื่อนไข และเกณฑ์ในการกำหนดค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพให้เป็นที่ยอมรับของนายจ้างและลูกจ้าง ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเงื่อนไข เกณฑ์ และสูตรคำนวณ ในการขึ้นค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพให้เป็นที่ยอมรับของนายจ้างและลูกจ้าง ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยได้ดำเนินการศึกษาจากการค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัย บทความวิชาการ วารสาร ข่าวสารต่างๆ การสืบค้นข้อมูลจาก Internet ที่มีผู้ศึกษาไว้ในแง่มุมต่างๆ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานโดยตรง จำนวน 8 ท่าน ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ท่าน โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถามแบบสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience sampling) กับตัวแทนฝั่งนายจ้าง จำนวน 200 ท่าน และตัวแทนฝั่งลูกจ้าง จำนวน 200 ท่าน และยืนยันความน่าเชื่อถือด้วยกระบวนการประชุมกลุ่ม (Focus group) กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี จำนวน 28 ท่าน

          จากผลการวิจัย พบเงื่อนไขในการขึ้นค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ จำนวน 5 ข้อ พบเกณฑ์ในการนำมาคำนวณค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ จำนวน 6 ข้อ และได้สูตรที่มาจากสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) สำหรับนำมาคำนวณเพื่อขึ้นค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพให้เป็นที่ยอมรับของนายจ้างและลูกจ้าง ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คือ Y´(ค่าแรงที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ) = X1(ค่าครองชีพในพื้นที่ปีล่าสุด)+X2(อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปีล่าสุด)+X3(ดัชนีราคาผู้บริโภค)+X4(อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ)+X5(ค่าเช่าที่พักอาศัยหรือค่าเช่าหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับที่พักอาศัย)+X6(ต้นทุนด้านแรงงานทางตรง)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-18