แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวชุมชน, ชุมชนบ้านถ้ำเสือบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพเชิงปรากฏการณ์วิทยานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สภาพการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการอุปมาน สำหรับความเที่ยงตรงของข้อมูลใช้ 2 เทคนิค คือ การใช้เทคนิคสามเส้าแบบวิธีการที่แตกต่างและการใช้เทคนิคสามเส้าของผู้ให้ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์การท่องเที่ยวของชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้แก่ 1.1) จุดเด่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น กิจกรรมทางการท่องเที่ยว การบริการอาหารและของที่ระลึกที่นำเสนออัตลักษณ์ของชุมชน โดยการเชื่อมโยงเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อนำเสนอขายเป็นแพ็กเกจแก่นักท่องเที่ยว 1.2) จุดด้อย การตกแต่งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติถ้ำเสือน้อยไม่สอดคล้องตามหลักสถาปัตยกรรมแบบที่ยังยืน และการออกแบบสถาปัตยกรรมของที่พักที่ยังไม่สอดคล้องตามหลักอารยสถาปัตย์เพื่อรองรับคนทั้งมวล 1.3) โอกาส ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์โปรแกรมการท่องเที่ยวของชุมชนต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น 1.4) อุปสรรค สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติส่งผลต่อข้อจำกัดในการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวบางประเภท และ 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนบ้านถ้ำเสือ ตำบลอ่าวลึกใต้ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้แก่ 2.1) แนวทางการจัดการคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว 2.2) แนวทางการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 2.3) แนวทางการจัดการบุคลากรด้านการท่องเที่ยว