การจัดการแรงงานข้ามชาติในระบบห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมการผลิตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
คำสำคัญ:
การจัดการ, แรงงานข้ามชาติ, ห่วงโซ่อุปทาน, อุตสาหกรรมการผลิต, พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในการดำเนินกิจกรรมในฝั่งต่างประเทศ คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชาที่เป็นต้นทางของแรงงานที่จะเข้าสู่ประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทจัดหางานในประเทศไทยที่ดำเนินกิจกรรมทั้งในต่างประเทศ คือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา และกิจกรรมภายในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ สัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามกึ่งโครงสร้างแบบปลายเปิด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหารจากธุรกิจบริษัทจัดส่งแรงงานของประเทศต้นทาง คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา ประเทศละ 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 6 คน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้บริหารจากบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ จำนวน 30 บริษัท ในพื้นที่ภาคตะวันออก พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรืออีอีซีในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยองเป็นต้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในการดำเนินกิจกรรมในฝั่งต่างประเทศ คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชาที่เป็นต้นทางของแรงงานที่จะเข้าสู่ประเทศไทย พบว่าปัญหาของแรงงานชาติข้ามชาติที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. ปัญหาการเกี่ยวกับการเตรียมแรงงาน โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดจากแรงงานไม่มีทักษะและมีความต้องการที่จะมาทำงานในประเทศไทยเยอะมาก โดยมีวิธีการแก้ปัญหาคืออบรมการสื่อสารภาษาไทยเพื่อการทำงาน นายจ้างสามารถคัดเลือกแรงงานผ่านทางออนไลน์ได้ และวางแผนในการสรรหา และคัดเลือกแรงงานให้เหมาะกับงาน 2. ปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญากับบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศและโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาค่าแรงสวัสดิการแรงงานคนไทยต่างด้าวไม่เท่ากัน และนายจ้างบางรายไม่ดูแลเอกสารของแรงงานตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ โดยมีวิธีการแก้ปัญหาคือเจรจาตกลงทำสัญญากับบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศและนายจ้างในเรื่องของค่าแรงสวัสดิการที่แรงงานจะได้รับเมื่อไปทำงานในประเทศไทยอย่างชัดเจนตรงกัน และทำความเข้าใจกับนายจ้างถึงความสำคัญของเอกสารแรงงาน 3. ปัญหาเกี่ยวกับการส่งแรงงานขณะเข้าสู่ประเทศไทย โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาแรงงานตรวจโรคเพื่อขอใบอนุญาตทำงานไม่ผ่าน ซึ่งมีวิธีการแก้ปัญหาหากพบว่าแรงงานท้องจำเป็นต้องส่งตัวแรงงานกลับบ้านทันที ส่งตัวแรงงานกลับให้รักษาตัวเองให้หาย และกลับมาทำงานใหม่ได้ และปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในการจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทจัดหางานในประเทศไทยที่ดำเนินกิจกรรมทั้งในต่างประเทศ คือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา และกิจกรรมภายในประเทศไทย จากการวิจัยพบว่าปัญหาของแรงงานชาติข้ามชาติที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญากับประเทศต้นทางและโรงงานในพื้นที่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดจากปัญหาด้านการใช้ภาษาเพื่อการทำสัญญาภาษาที่ใช้ในการทำสัญญาของแต่ละประเทศแตกต่างกัน โดยมีวิธีการแก้ปัญหาคือใช้ภาษาอังกฤษในการทำสัญญา 2. ปัญหาเกี่ยวกับเมื่อแรงงานข้ามชาติทำงานได้ระยะหนึ่งของสัญญาที่บริษัทจัดหางานค้ำประกันความคงอยู่ของแรงงานโดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นปัญหานายจ้างส่วนใหญ่ประสงค์ต่ออายุสัญญา กับแรงงานทุกคน โดยมีวิธีการแก้ปัญหาคือบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศดำเนินการต่ออายุสัญญา หากแรงงานทำงานกับนายจ้างเกิน 1 ปี 3. ปัญหาเกี่ยวกับเมื่อแรงงานข้ามชาติเริ่มทำงานกับโรงงานและบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานโดยได้รับค่าบริการ โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นแรงงานสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ โกดังไฟไหม้ ฝ่าฝืนกฎระเบียบภายในโรงงาน ซึ่งมีวิธีการแก้ปัญหาหากพบว่าโรงงานจะต้องชี้แจงแรงงานและให้ใบเตือนตามระเบียบ