ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยวัยที่สาม นครเชียงราย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมแนะแนว, ความยืดหยุ่นทางจิตใจ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง ระยะก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว และ 2) เปรียบเทียบความยืดหยุ่นทางจิตใจของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยวัยที่สาม นครเชียงราย จังหวัดเชียงรายจำนวน 30 คน โดยคัดเลือกจากผู้ที่มีคะแนนความยืดหยุ่นทางจิตใจต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 และ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นทางจิตใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความยืดหยุ่นทางจิตใจสูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ภายหลังการทดลอง ผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง ที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ สูงกว่าผู้สูงอายุกลุ่มควบคุมที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01