การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ (Constructivism) ร่วมกับกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

ผู้แต่ง

  • สกุณา ปั้นทอง โรงเรียนเทศบาล 5 (กระดาษไทยอนุเคราะห์)

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, นวัตกรรม, การเรียนรู้แบบการสร้างความรู้, กระบวนการ PLC, สมรรถนะของผู้เรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน พัฒนารูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบ ประเมินผล และถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ร่วมกับกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู จำนวน 32 คน นักเรียนจำนวน 165 คน กลุ่มเป้าหมายถอดบทเรียน การสะท้อนการเรียนรู้ ประกอบด้วยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการในการพัฒนาการจัดการสอน พบว่า ควรส่งเสริมครูในการจัดทำนวัตกรรมการศึกษาที่มุ่งจัดการเรียนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเองผ่านการเรียนแบบโครงงาน การเรียนแบบ Active Learning กระบวนการกลุ่ม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการนำเสนอความรู้ของตนเอง และเกิดการสร้างสรรค์เพื่อองค์ความรู้ใหม่
  2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ร่วมกับกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียนในโรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ใช้รูปแบบ UDBP Model ประกอบด้วย 1) Planning ขั้นการวางแผน  2) Performance ขั้นการปฏิบัติงาน 3) Study skills การสร้างทักษะ 4) Construction การสร้างความรู้ 5) การประเมินผลและสะท้อนการเรียนรู้ Evaluation and Learning Reflection
  3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.84 และ 15.28 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  4. การประเมินผลและถอดบทเรียน พบว่า ทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูมีทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อยู่ในระดับมาก การจัดการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ร่วมกับกระบวนการ PLC เพื่อส่งเสริมสมรรถนะของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
  5. ผลการถอดบทเรียน พบว่า UDBP Model เป็นการรวมตัว ร่วมใจ ร่วมพลัง ร่วมทำ และร่วมเรียนรู้ร่วมกัน บนพื้นฐานการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้การเรียนรู้แบบการสร้างความรู้ ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้วิธีการแสวงหา และสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น มุ่งพัฒนาให้เกิดทักษะการแก้ปัญหาที่พบในกระบวนการเรียนรู้ในการเรียนประจำวัน และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26