ปัจจัยทางการตลาดของการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่สไตล์ “แกลมปิ้ง”

ผู้แต่ง

  • อมรเทพ ศรีสุข มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดนุพล แสงนาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อัญชิษฐา ภูอุดม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อภิญญา สุภิชญ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แกลมปิ้ง, นักท่องเที่ยวชาวไทย, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบแกลมปิ้ง (2) ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบแกลมปิ้ง (3) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Cs) ในรูปแบบแกลมปิ้ง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวรูปแบบแกลมปิ้ง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกภายในแหล่งท่องเที่ยว (Convenience Sampling) และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ที่เดินท่องเที่ยวรูปแบบแกลมปิ้งเป็นเพศหญิง อยู่ในช่วง 21-30 ปี มีสถานภาพโสด กำลังศึกษาปริญญาตรี เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท โดยมีแรงจูงใจด้านปัจจัยผลักอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) มีความต้องการเพื่อพักผ่อนในวันหยุดมากที่สุด ( = 4.70) แรงจูงใจด้านปัจจัยดึงดูดอยู่ในระดับมาก ( = 4.55) โดยมีการบริการและการดูแลลูกค้าของพนักงานอย่างดีเยี่ยม ( = 4.64) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านแรงจูงใจ พบว่า ปัจจัยดึงดูดมีค่าเฉลี่ยมากกว่าปัจจัยผัก และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 4cs พบว่า ปัจจัยในด้านความต้องการของผู้บริโภค (Consumer Wants and Needs) มากที่สุด ( = 4.47) ด้านการสื่อสาร (Communication) ( = 4.46) ด้านความสะดวกในการซื้อ (Convenience to Buy) ( = 4.43) ด้านต้นทุนของผู้บริโภค (Consumer's Cost to Satisfy) ( = 4.39) ตามลำดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26