การพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ราตรีสวัสดิ์ ธนานันต์ สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

คำสำคัญ:

มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, ระบบทวิภาคีสมรรถนะสูง, ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน ครูผู้สอน จำนวน 276 คน หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จำนวน 11 คน และผู้แทนสถานประกอบการ จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 373 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาอาชีวศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) นโยบายและเป้าหมายอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) เครือข่ายสถานประกอบการและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) งบประมาณและทรัพยากรการผลิต ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสมรรถนะสูง 4 ขั้น ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การประสานงาน 3) การนำ/การปฏิบัติ และ 4) การตรวจสอบและประเมินผล ด้านผลผลิต ประกอบด้วย คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาและการเพิ่มขึ้นของผู้เรียนและสถานประกอบการ 2. ผลการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า หน่วยงาน/สถานประกอบการ ร่วมมือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.60 ผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.32 ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษา ที่มีงานทำ/ประกอบอาชีพอิสระประสบความสำเร็จ ร้อยละ 98.53

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30