การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ภาสพงศ์ ภิรมย์คำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, รายวิชาพลศึกษา และ ทักษะการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 60 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษา (การฝึกด้วยน้ำหนักเพื่อสุขภาพ) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมารตฐาน (S.D.) ค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (T-test Independent) ค่าความแตกต่างภายในกลุ่ม (T-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.องค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 2.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) ทฤษฎีพื้นฐานและหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ระบบงานและกลไกของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) วิธีดำเนินงานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้ กลุ่มทดลองมีทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผู้ทรงคุณวุฒิยืนยันรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นไปได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26