อิทธิพลของการจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน
คำสำคัญ:
การจัดการความขัดแย้ง, ประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน, พนักงานในสายการผลิตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับของการจัดการความขัดแย้งและประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน และ 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการจัดการความขัดแย้งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 378 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานในสายการผลิตมีการจัดการความขัดแย้งและประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2) พนักงานในสายการผลิตที่มีระดับการศึกษาและระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานในภาพรวมแตกต่างกัน 3) การจัดการความขัดแย้งโดยวิธีการยอมให้ การหลีกเลี่ยง การประณีประนอม และการร่วมมือ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ