การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมกลุ่มปราสาทประธาน ปราสาทเปือยน้อย จ.ขอนแก่น
คำสำคัญ:
เปือยน้อย, ปราสาทสามหลัง, การสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมกลุ่มปราสาทประธานโดยใช้ปราสาทเปือยน้อยเป็นกรณีศึกษา และใช้กระบวนการวิเคราะห์ผ่านข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจทางกายภาพ และข้อมูลด้านเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าปราสาทเปือยน้อยถือเป็นเทวาลัยประจำชุมชนที่มีขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในสมัยบาปวนถึงสมัยนครวัด ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปราสาทประธานเป็นกลุ่มปราสาทสามหลังซึ่งตั้งบทฐานเดียวกัน มีการทำช่องเปิดด้านทิศตะวันออกเพื่อใช้เป็นทางเข้าสู่พื้นที่ภายใน ส่วนเรือนธาตุก่อด้วยอิฐสร้างขึ้นเพื่อเป็นผนังรับน้ำหนักของส่วนยอด ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าก่อด้วยอิฐเช่นเดียวกับเรือนธาตุ มีการทำชั้นลดสามชั้นสอบเข้า บริเวณชั้นลดประดับด้วยปราสาทจำลองที่มุมทั้งสี่และกลีบขนุนรูปเทพชั้นรองต่าง ๆ ประดับโดยรอบ ยอดบนสุดเป็นที่ตั้งของบัวกลุ่มที่ทำจากหินทราย แนวความคิดในการออกแบบพบว่าปราสาทเปือยน้อยสร้างขึ้นตามคติการจำลองเขาไกรลาสซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระศิวะ ปราสาทสามหลังสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่เทพตรีมูรติ พื้นที่โดยรอบพบว่ามีการนับถือเทพชั้นรองต่าง ๆ ควบคู่กันภายในเทวาลัย เช่น พระอินทร์ เทพนพเคราะห์ต่าง ๆ โดยรูปเคารพเหล่านี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
References
ขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
________. ม.ป.ป. ปราสาทเปือยน้อย. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. 2558. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพมหานคร: มิวเซียมเพรส.
ธาดา สุทธิธรรม. 2544. ผังเมืองในประเทศไทย: ผังชุมชนและการใช้ที่ดินสายอารยธรรมเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ขอนแก่น: ขอนแก่นพิมพ์พัฒนา.
ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์ และ วิไลรัตน์ ยังรอด. 2550. คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้ ปราสาทหิน พิมาย พนมรุ้ง เมืองต่ำ ตาเมือน
เขาพระวิหาร. กรุงเทพมหานคร: มิวเซียวเพรส.
นิยม วงศ์พงษ์คำ. ม.ป.ป. ภาพสลักรูปบุคคลในปราสาทเปือยน้อย. ขอนแก่น: สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยอร์ช เซเดส์. 2540. นครวัด นครธม. ปราณี วงษ์เทศ (แปล). กรุงเทพฯ: มติชน.
วิชชุ เวชชาชีวะ. 2549. นักล่าปราสาท เที่ยวโบราณขอมนอกเมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: มืองโบราณ.
วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. 2560. ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. มหาสารคาม: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ
นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
________. 2555. ประวัติศาสตร์ แนวความคิด คติความเชื่อในการสร้างโบราณสถานกู่น้อย อ.นาดูน
จ.มหาสารคาม. มหาสารคาม: กองส่งเสริมงานวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
________. 2550. สถาปัตยกรรมกู่บ้านแดง. มหาสารคาม: กองส่งเสริมงานวิจัยและบริการวิชาการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
________. 2551. สถาปัตยกรรมกู่บัวมาศ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม. มหาสารคาม: กองส่งเสริมงานวิจัยและบริการ
วิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิสันธนี โพธิสุนทร. 2533. ปราสาทเขาน้อย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. 2546. แอ่งอารยธรรมอีสาน. กรุงเทพฯ: มติชน.
________. 2529. อีสาน “ความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีคูเมือง กำแพงเมืองกับการเกิดของรัฐในประเทศไทย”.
ศิลปวัฒนธรรม. 8(1): 137.
สมคิด จิระทัศนกุล. 2559. อภิธานศัพท์ช่าง สถาปัตยกรรมไทย เล่ม2 องค์ประกอบส่วนฐาน. กรุงเทพฯ:
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. 2551. ประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งอาณาจักรขอมโบราณ. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
________. 2551. 30 ปราสาทในเมืองพระนคร. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. 2547. ศิลปะสมัยลพบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. 2537. ศิลปะร่วมแบบเขมรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.
________. 2549. ปราสาทเขาพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เรือนบุญ.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ปุราณรักษ์. 2537. งานบูรณะปราสาทเปือยน้อย บ้านหัวขัว ต.เปือยน้อย กิ่งอำเภอเปือยน้อย จ.
ขอนแก่น. ขอนแก่น: หน่วยโบราณคดีที่ 7 กองโบราณคดี กรมศิลปากร.
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุรศักดิ์ก่อสร้าง. 2535. การบูรณะปราสาทหินเปือยน้อย กิ่งอำเภอเปือยน้อย จ.ขอนแก่น. ขอนแก่น:
หน่วยโบราณคดีที่ 7 กองโบราณคดี กรมศิลปากร.
อรพินธุ์ การุณจิตต์ และ จตุพร สิริสัมพันธ์.2538. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่มที่ 3. กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร.
อนุวิทย์ เจริญศุภกุล. 2541. ปราสาทเมืองต่ำ การศึกษาทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
M.Freeman, C.Jacques. 2003. Ancient Angkor. Bangkok: River Books.
M.Petrotchenko. 2012. Focusing on the Angkor Temples The Guidebook. Second edition. Bangkok: Amarin
Printing and Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ