การเปลี่ยนแปลงของเรือนพื้นถิ่นลาหู่เพื่อการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ในอำเภอเมืองและอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เนติวัฒน์ แก้วเทพ
  • เชาวลิต สัยเจริญ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลาหู่, การเปลี่ยนแปลง จังหวัดเชียงราย

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเรือนพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ภายใต้อิทธิพลของการท่องเที่ยวรูปแบบโฮมสเตย์ โดยการสำรวจภาคสนามหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ที่มีการจัดทำโฮมสเตย์ 3 แห่ง ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เพื่ออธิบายถึงรูปแบบการจัดการพื้นที่ภายในเรือน ความเชื่อมโยงของพื้นที่ ปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานพื้นที่ระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยว เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ที่เหมาะสมสอดคล้องต่อการท่องเที่ยวในรูปแบบโฮมสเตย์ ผลการวิจัยพบว่าเรือนโฮมสเตย์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ตามขนาดของเรือนโฮมสเตย์และการรองรับจำนวนของนักท่องเที่ยว คือ 1.) เรือนโฮมสเตย์ขนาดเล็ก 2.) เรือนโฮมสเตย์ขนาดกลาง 3.) เรือนโฮมสเตย์ขนาดใหญ่ โดยเรือนโฮมสเตย์ในแต่ละลักษณะก็จะสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่และการจัดการเตรียมรับรองนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันไป เรือนโฮมสเตย์ขนาดเล็กจนถึงเรือนโฮมสเตย์ขนาดกลางส่วนใหญ่จะเป็นเรือนที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับเรือนที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงเรือนดั้งเดิมในปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษณะที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ผ่านรูปทรง พื้นที่ใช้สอยและวัสดุประกอบเรือน แต่เรือนโฮมสเตย์ขนาดกลางบางส่วนจนถึงเรือนโฮมสเตย์ขนาดใหญ่จะมีรูปแบบในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเรือนที่อยู่อาศัยแบบเรือนดั้งเดิม ทั้งในด้านของการใช้วัสดุอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาทในการก่อสร้าง มีการปรับเปลี่ยนทั้งรูปทรง ขนาด สัดส่วนและเพิ่มขยายพื้นที่เรือนเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่ถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรมค่อยๆ เลือนหายไปจากกระบวนการพัฒนา จึงจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการพัฒนาให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ โดยผสมผสานเอกลักษณ์เรือนพื้นถิ่นแบบดั้งเดิมที่ใช้วัสดุธรรมชาติเป็นหลักเข้ากับการใช้วัสดุอุตสาหกรรมช่วยเสริมในการก่อสร้างที่ไม่กระทบต่อคุณค่าทางสถาปัตยกรรม เช่น ตะปู แผ่นเหล็ก และน็อต เป็นต้น การแบ่งพื้นที่ใช้สอยในเรือนพื้นฐานควรจำแนกลำดับความสำคัญของการเข้าถึงพื้นที่จากในสุดของเรือนมายังพื้นที่นอกสุดของเรือนอย่างเป็นสัดส่วน คือ ห้องนอนเจ้าของเรือน ห้องนอนลูก พื้นที่ครัว พื้นที่เก็บของ พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่ชานและห้องนอนนักท่องเที่ยว

Author Biographies

เนติวัฒน์ แก้วเทพ

มหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เชาวลิต สัยเจริญ

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. 2555. มูเซอ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. 2536. การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณวิทย์ อ่องแสวงชัย และคณะ. 2555. โครงการศึกษาทรัพยากรด้านสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมในเขตเทศบาลเมืองน่านเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พอล, อีเลน ลูวิส. 2528. หกเผ่าชาวดอย. ศิริวรรณ สุขพานิช (แปล). เชียงใหม่: หัตถกรรมชาวเขา.

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. 2552. “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น: การศึกษา วิจัยและการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม”. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. 8(1): 56-66.

ลลิตา จรัสกร. 2557. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นลาหู่และการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. เชียงใหม่:
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินัย หมั่นคติธรรม. 2554. รูปแบบโฮมสเตย์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

วิวัฒน์ เตมียพันธ์. 2525. สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สมชาย จะย่อ. 2551. การสังเคราะห์ภูมิปัญญา ความรู้ของชุมชนการอนุรักษ์วัฒนธรรมและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติของชนเผ่าลาหู่แชแล บ้านห้วยน้ำริน ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย (รายงานวิจัย). เชียงราย: โครงการเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น.

อรศิริ ปาณินท์ และ สุภาวดี เชื้อพรมหมณ์. 2556. “‘การอ่าน’ ความเปลี่ยนแปลงและหลากหลายของชุมชนและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 9(1): 131-154.

อรศิริ ปาณินท์. 2551. เรือนพื้นถิ่นไทย-ไท. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.

Anthony R. W. 1995. Mvuh Hpa Mi Hpa Creating Heaven. Creating Earth: An Epic Myht of the Lahu People in Yunnan. Chiang Mai: Silkworm Books.

Oliver, P. 2006. Built to Meet Need. London: Elsevier.

Oranratmanee, R. 2011. Re-utilizing Space: Accommodating in Homestay Houses in Northern Thailand. Chiang Mai University Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 8(1): 35-54.

Rudofsky, B. 1972. Architecture without Architects: A Short Introduction to Non-Pedigree Architecture. Albuquerque: University of New Mexico Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30