ความหมายของอนุสรณ์สถานพระอริยสงฆ์ในวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

ผู้แต่ง

  • ภัทระ ไมตระรัตน์
  • ทรงยศ วีระทวีมาศ

คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์บริขาร, ความหมายของพื้นที่, ธาตุบูชา

บทคัดย่อ

            พิพิธภัณฑ์บริขารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ถือกำเนิดขึ้นภายใต้บริบทความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่งผลต่อความนึกคิดของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่แบบแผนการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาที่ถูกปรับปรุงให้เข้ากับบริบทการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยมีจุดเปลี่ยนที่ก่อให้เกิดทั้งรูปแบบและแนวความคิดการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเนื่องด้วยการบูชาพระธาตุต่างไปจากจารีตเดิมที่ยังไม่เคยปรากฏในสังคมไทยก่อนหน้านั้น ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นความคิดการสร้างอนุสรณ์สถานพระอริยสงฆ์ในเวลาต่อมา

        การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่พิพิธภัณฑ์บริขารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในฐานะอนุสรณ์สถานกับบริบทที่ตั้งในช่วงเวลาที่ก่อสร้าง (ราว พ.ศ. 2510-2520) โดยมองพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่พิเศษแบบหนึ่ง ที่ไม่เพียงแค่หยุดนิ่งตายตัวหรือเป็นกลางเสมอไป แต่กลับเต็มไปด้วยความหมายที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นและไม่เคยหยุดนิ่งจึงต้องได้รับการตีความพื้นที่ผ่านช่วงเวลาที่ผันแปรของสังคมร่วมสมัย โดยคาดว่าจะเห็นภาพสะท้อนแนวคิดร่วมสมัยที่มีต่อพิพิธภัณฑ์บริขารฯ แห่งนี้

        จากการศึกษาพบว่า แนวคิด “ธาตุบูชา” ต่างไปจากประเพณีเดิม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเวลาเคลื่อนที่ไป แนวคิดก็ได้ถูกปรับปรุงตามไปด้วย อีกทั้งไม่สามารถคาดการณ์การเกิดขึ้นของอนุสรณ์สถานแต่ละแห่งได้อย่างแน่ชัด ซึ่งต่างเป็นอิสระไม่ผูกติดกับความต่อเนื่องของเวลาในเหตุการณ์ แต่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง ก่อเกิดเป็นความหมายเฉพาะตัวของอนุสรณ์สถานแห่งนี้ที่อาจมีผลต่อแนวคิดการนำเสนอธาตุบูชาในเวลาต่อมา

Author Biographies

ภัทระ ไมตระรัตน์

นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ปรับปรุงบทความจากการนำเสนอในงานประชุมวิชาการ VernAC-BEF 2017 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยและทุนการศึกษาจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น “ทุนวิจัยสำหรับคณาจารย์บัณฑิตศึกษาเพื่อให้สามารถรับนักศึกษาที่มีความสามารถและศักยภาพสูงเข้าศึกษาในหลักสูตรและทำวิจัยในสาขาที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ ประจำปีการศึกษา 2558” และได้รับการสนับสนุนการเผยแพร่และตีพิมพ์จากศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทรงยศ วีระทวีมาศ

อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมศิลปากร. (2511). พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ตำนานว่าด้วยการสร้างสถูปเจดีย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

__________. (2555). เปิดบ้านศิลปากร. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองศิลป์การพิมพ์.

แกรนท์ อีแวน. (2547). ประวัติศาสตร์สังเขปประเทศลาวประเทศกลางแผ่นดินเอเชียอาคเนย์. ดุษฎี เฮย์มอนด์ แปล.
กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2543). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์, เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2551). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬา.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). วาทกรรมการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2548). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: โรงพิมพ์สัมมนาวิทยา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2514). ตำนานพระพุทธเจดีย์. กรุงเทพฯ: รุ่งวัฒนา.
ธนธร กิตติกานต์. (2557). มหาธาตุ. กรุงเทพฯ: มติชน.

ธนภณ วัฒนกุล. (2550). การเมืองเรื่องพื้นที่ พลวัตทางสังคมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนป้อมมหากาฬ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลาคม.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐ และรูปการจิตสำนึก.
กรุงเทพฯ: มติชน.

ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. (2530). ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

พระครูปลัดสมคิด สิริวัฑฒโณ. (2550). “ประวัติวัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร”. หนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐิน
พระราชทานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.

พระเทพเจติยาจารย์. (2551). ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ (ฉบับสมบูรณ์) พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อ
วิริยังค์ สิรินธโร). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2555). พุทธศาสนาในเอเชีย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-
สฤษดิ์วงษ์.

พระมหาธีรนาถ อัคคธีโร. (2551). พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์. สมุทรปราการ: วัดอโศการาม.

พระมหาบัว ญาณสัมปันโน. (2514). ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต. กรุงเทพฯ: ศรีศตวรรษ.

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงสารประเสริฐและฉบับกรมพระปรมานุชิตชิโนรส) และพงศาวดารเหนือ
ฉบับพระวิเชียรปรีชา(น้อย) เล่ม 1. (2504). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

วัดป่าบ้านตาด. (2554). ญาณสัมปันโนธัมมานุสรณ์. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์

วัดป่าสุทธาวาส. (ม.ป.ป.). พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ. สกลนคร: โรงพิมพ์สกลนครการพิมพ์.

วิจิตร ว่องวารีทิพย์. (2549). “การจารึกความทรงจำของท้องถิ่น: สิ่งที่ปรากฏในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์” . วารสารไทยคดี
ศึกษา ปีที่ 4 (1), 84-131.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา. (2530). ข้อมูลพื้นฐานบ้านด่านเกวียน. นครราชสีมา:
สมบูรณ์ออฟเซ็ทพริ้นท์.

สมคิด จิระทัศนกุล. (2554). รู้เรื่องวัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. นนทบุรี: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักพระราชวัง. (2535). จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในพระราชสำนัก 1. ม.ป.ท.

Bennet, Tony. (2003). The birth of the museum. Great Britain: T.J. International Ltd.

Cane, Susan. (2000). Museums and Memory. Stamford: Stamford University Press.

Foucault, Michel.(1970).The Order of Things : An Archaeology of the Human Science. New York:
Vinage Books.
__________. (1984). The Foucault reader. Hammondsworth: n.p.

__________. (1986). Of other spaces; Diacritics. Spring: n.p.

Taylor L., James. (1993). Forest Monks and The Nation States. Singapore: Institue of Southeast Asian
Studies.

__________ . (1997). “The Textualization of a Monastic Tradition: and the Biographical Process in
Thailand”.Sacred Biography Buddhist Traditions South and Southeast Asia. The Unite States of
America: University of Hawaii.

The Mahavamsa. (1964). Translation by Wilhelm Geiger. London: Luzac & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30