การศึกษาอัตลักษณ์ขององค์กรเพื่อการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • นาถยา พลซา
  • ญาณินทร์ รักวงศ์วาน

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, อัตลักษณ์องค์กร, การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่แรกเริ่มก่อตั้งมีฐานะเป็น “วิทยาลัยครู” หลังจากนั้นได้รับพระราชทานนาม “ราชภัฏ” จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้งพระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย ถ้าจะกล่าวถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาพแรกที่ปรากฏขึ้นในอุดมคติของใครหลายคน คือ ตึกสี่เหลี่ยมสูงเป็นชั้นๆ และหากเจาะจงประเด็นถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยที่มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งอย่างไร  อาจมีน้อยคนจะรู้ จึงเป็นประเด็นให้ผู้วิจัยเกิดข้อสงสัยอยากหาคำตอบจนนำมาซึ่งงานวิจัยศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และเพื่อนำผลการศึกษาวิจัยไปออกแบบสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เป็นศูนย์รวมและมีความสำคัญต่อนักศึกษาและบุคลากร ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ บุคลากรในมหาวิทยาลัยจำนวน 15 คน นักศึกษาภาคปกติ ศูนย์เลยจำนวน 367 คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของ R.V.Krejcieและ D.W.Morgane จากนักศึกษา 5 คณะ และบุคคลภายนอกทั่วไป(ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย) จำนวน 10 คน

ผลจากการศึกษา พบว่าลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยคำว่า “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” มีความเป็นอัตลักษณ์ทางด้านประวัติความเป็นมาขององค์กร ความเป็นท้องถิ่นไทเลย มีความเป็นอัตลักษณ์ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ต้นจันทร์ผา มีความเป็นอัตลักษณ์ด้านด้านสัญลักษณ์ และพิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกรและถวายสัตย์ปฏิญาณตน มีความเป็นอัตลักษณ์ด้านพิธีกรรมและวัฒนธรรม

Author Biographies

นาถยา พลซา

นักศึกษาหลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ญาณินทร์ รักวงศ์วาน

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

References

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. 2550. วัฒนธรรมการสื่อสาร และอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนี เพชรานนท์. 2545. การออกแบบสภาพแวดล้อม. ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์. 2559. อัตลักษณ์ในงานออกแบบ. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. 2553. วัฒนธรรมองค์กร: คุณค่าที่หาซื้อไม่ได้ แต่สร้างได้. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

บูร์ดิเยอ, ปิแยร์. 2550. เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข (แปล). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ผุสดี ทิพทัส. 2530. หลักการเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบในงานสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พรทิพย์ เรืองธรรม. 2556. ทฤษฎีการออกแบบ. นนทบุรี: อินทนิล.

มาฆะ ภู่จินดา. 2554. "รูปแบบนวัตกรรมสำหรับองค์กรสมัยใหม่". วารสารข้าราชการ. 56(1): 46.

ร็อบบินส์, สตีเฟ่น. พี. 2548. พฤติกรรมองค์การ. รังสรรค์ ประเสริฐศรี (แปล). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

สุพานี สฤษฏวานิช. 2552. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฏี. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. 2547. การออกแบบอัตลักษณ์: Corporate Identity. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: คอร์ฟังก์ชั่น.

สุรกานต์ รวยสูงเนิน. 2550. การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในขั้นพื้นฐาน. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Ind, N. 2000. The Corporate Brand. New York: NYU Press.

Nailya, G. B., Yuliya, N. G., and Oksana, V. 2015. "University management: from successful corporate culture to effective university branding". Procedia Economics and Finance, 26(1): 764-768.

Martina, P., Alzbeta, B., and Erika, S. 2015. "The Importance of Corporate Identity in Water Transportation Company". Procedia Economics and Finance, 26(1): 286-291.

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
สุชีพ กรรณสูต. 2552. แนวคิดอัตลักษณ์ Identity. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. เข้าถึงได้จาก https://sucheeppost.blogspot.com/2009/05/identity.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30