การประเมินคุณภาพทางสายตาขององค์ประกอบสำคัญของเมืองเก่าเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • จิตรกร ปันโปธิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รศ. ดร. ปรานอม ตันสุขานันท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การประเมินคุณภาพทางสายตา , เมืองเก่าเชียงใหม่ , การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) วิเคราะห์และประเมินคุณค่าองค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และภูมิทัศน์ของเมืองเก่าเชียงใหม่ 2.) จัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบเมืองเก่าและระดับคุณภาพทางสายตา โดยผู้วิจัยและคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และ 3.) เสนอแนวทางการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์มุมมองสำคัญ เพื่อการวางแผนจัดการภูมิทัศน์เมืองเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการรับรู้ด้วยการมองเห็นเพื่อการกำหนดมุมมองสำคัญของเมืองเก่าเชียงใหม่ เป็นช่องมองคุ้มครอง (Protected Vistas) และแนวคิดการประเมินคุณภาพทางสายตา (Visual Quality) เป็นกรอบการวิจัย โดยขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วยศึกษาด้านทฤษฎี จากนั้นจึงสำรวจ สังเกต เพื่อกำหนดมุมมองสำคัญของเมือง แล้วจึงวิเคราะห์และประเมินคุณค่ามุมมองทั้ง 52 มุมมองและสัมภาษณ์กลุ่มคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมในขั้นต้น จำนวน 71 คน เป็นการสุ่มแบบเจาะจง กระจายทั่วพื้นที่เมือง โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแสดงความต้องการ รวมทั้งด้านคุณค่าของการอนุรักษ์มุมมองสำคัญของเมืองเก่าเชียงใหม่ อันจะนำไปสู่การมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ข้อมูลที่ได้นำมาประมวลผลทางสถิติ พบว่าดอยสุเทพเป็นองค์ประกอบเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์และความงามต่อคนในชุมชนมากที่สุด เมื่อประกอบกับวัด อาคารสำคัญ โบราณสถานและกลุ่มต้นไม้ ยิ่งทำให้มุมมองนั้นมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สำหรับด้านคุณภาพของมุมมองสำคัญอยู่ในระดับที่ยังไม่วิกฤต แต่ปัญหาที่มีผลกระทบมากที่สุดและเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องคือปัญหาเรื่องอาคารสูง ที่ควรได้รับการควบคุมอย่างเร่งด่วน การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์มุมมองสำคัญแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของมุมมอง ประกอบไปด้วย 1.) พื้นที่อนุรักษ์มุมมอง (Viewing corridor Conservation Zone) 2.) พื้นที่อนุรักษ์ระยะใกล้สายตา (Short Distance View Design Conservation Zone) และ 3.) พื้นที่อนุรักษ์ระยะไกลสายตา (Distant View Design Conservation Zone) โดยพื้นที่อนุรักษ์มุมมองทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ 1.) มุมมองที่เห็นดอยสุเทพอย่างต่อเนื่อง 2.) มุมมองที่เห็นองค์ประกอบเมืองที่สำคัญ 3.) มุมมองจากพื้นที่ริมแม่น้ำปิง และ 4.) ภาพมุมกว้าง

Author Biographies

จิตรกร ปันโปธิ, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษา หลักสูตรมหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

รศ. ดร. ปรานอม ตันสุขานันท์ , คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Lecturer, Faculty of Architecture Chiang Mai University, Chiang Mai, 50200 Thailand 

References

Ali R. et al., (2014). Explanation of Environmental Aesthetic Factors of Urban Design. Tehran: Urban Design at Art and Architecture Faculty of Tarbiat Modares University.

American Society of Landscape Architects. (1979). Visual Impact Assessment for Highway Projects. Washington: D.C.American Society of Landscape Architects.

Apavatjrul Charoenmuang, D. (2005). mư̄ang yangyư̄n nai Chīang Mai nǣokhit læ prasopkān khō̜ng mư̄ang nai hupkhao [Sustainable cities in Chiang Mai : a case of a city in a valley]. Chiang Mai: Social Research Institute, Chiang Mai University.

Chiang Mai University. (2016). khrōngkān čhattham phǣn patibatkān dān kānʻanurak læ phatthanāphư̄nthī prawattisāt læ watthanatham mư̄ang Chīang Mai tām nǣo mō̜radok lōk raya thīnưng (khrōngkān Chīang Mai sū mư̄ang mō̜radok lōk). [Chiang Mai World Heritage Initiative Project]. In ʻēkkasān prakō̜p ngān thalǣng khāo læ radom khwāmkhithen khrang thīsō̜ng phư̄a sanapsanun Chīang Mai sū mư̄ang radap lōk [Press Conference and Brainstorming To Support Chiang Mai to the World Heritage City (2nd time)]. Chiang Mai: Chiang Mai Provincial Administrative Organization.

Chulasai B. (2004). kān wikhro̜ phonkrathop singwǣtlō̜m thāng dān suntharīyaphāp[Environmental Impact Assessment Aesthetic]. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.

Farringdon Urban Design. (2010). Study Baseline Study Report excerpts London Borough of Islington LDF evidence base. London: Alan Baxter & Associates.

Josh C. (2014). Diagram of human visual field. [Online]. Retrieved August 10, 2018, Retrieved from https://blog.mozvr.com/quick-vr-prototypes/

Larry W. (1996). Canter Environmental ImpactAssessment. Singapore : McGrew Hall.

Mehmet Kıvanç A. (2013). Visual Quality Assessment Methods in Landscape Architecture Studies. [Online]. Retrieved June 26, 2018, Retrieved from https://www.intechopen.com/books/advances-in-landscape-architecture/visual-quality-assessment-methods-in-landscape-architecture-studies

Ongsakun S. (2006). sēnthāng čhakkrayān sū lǣng rīanrū thāng prawattisāt nai Chīang Mai [Bicycle trails to study Chiang Mai city historical sources]. Chiang Mai : Pinkanakorn Development Agency.

Palawan N. (2012). kānpramœ̄n khunnaphāp thāng sāitā khō̜ng phūm that : kō̜ranī sưksākhunnaphāp chœ̄ng that bon thanon rāt damnœ̄n čhangwat ืnakhō̜n sī tham rāt[Landscape visual assessment : a case study of the Ratchadamnoen road, Nakhon Si Thammarat province]. (Master of Landscape Architecture Program). Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Rattakasigorn S. (2013). kānphatthanā mư̄ang Chīang Mai læ panhā saphāwa wǣtlō̜m [Chiang Mai City Development and Environmental Problems]. In ʻēkkasān prakō̜p kān banyāi Chīang Mai nai sāitā khō̜ng khonnō̜k [Articles, lecture notes Chiang Mai in the eyes of outsiders]. Bangkok: Faculty Of Architecture Chulalongkorn University

Richard C. et al. (1986). Foundation for Visual Project Analysis. New York: John Willey&Son,Inc.,

Robert Tavernor. (2007). Visual and cultural sustainability: The impact of tall buildings on London. London : Director Cities Programme, London School of Economics and Political Science.

Simon Bell. (1999). Landscape Pattern and Process .London : E&FN.

Song-im W. (2004). phonkrathop thāng sāitā khō̜ng ʻākhān sūng phư̄a kān yūʻāsaithī mī tō̜ wat nai bō̜riwēn Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [Visual Impact of Tall Residential Buildings on Temples in Bangkok Area]. (Master of Landscape Architecture Program). Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Tansukanun P. (2016). kānʻanurak chumchon mư̄ang [Urban Conservation]. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29