การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมของสิมวัดสุปัฎนารามและอาสนวิหารแม่พระนิรมลเมืองอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชเยศ ศรีแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ผศ.ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

สิม, โบสถ์อาสนวิหาร, สัญลักษณ์

บทคัดย่อ

ศาสนาพุทธนิกายธรรมยุตและศาสนาคริสต์เผยแผ่ในเมืองอุบลราชธานีช่วง พ.ศ. 2394-2473 ศูนย์กลางการเผยแพร่ของทั้งสองศาสนามีที่ตั้งในตัวเมืองอุบลราชธานีที่ไม่ห่างกันมากนัก อาสนวิหารแม่พระนิรมลมีการปรับเปลี่ยนสร้างใหม่ก่อนที่สิมวัดสุปัฏนารามหลังใหม่จะทำการก่อสร้างหลายปี ทั้งนี้การตรวจสอบการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและความหมายขององค์ประกอบอาคาร จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เข้าใจทั้งตัวสถาปัตยกรรมและบริบทมากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของสิมของวัดสุปัฏนารามวรวิหารและอาสนวิหารแม่พระนิรมลในบริบททางประวัติศาสตร์เมืองอุบลราชธานี โดยการอธิบายผ่านการศึกษาตัวสถาปัตยกรรม องค์ประกอบตกแต่งและสัญลักษณ์ในงานสถาปัตยกรรม และการสื่อความหมายของสัญญะผลการศึกษาพบว่า สิมวัดสุปัฏนารามตั้งบนทำเลที่ดี อยู่เหนือแม่น้ำ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอิทธิพลรัตนโกสินทร์ผสมแบบท้องถิ่น อาสนวิหารตั้งในที่ลุ่ม คนพื้นเมืองเชื่อว่าเป็นดงไข้ป่าดงผีสิง แต่อาสนวิหารหลังแรกถูกสร้างขึ้นโดยการประยุกต์จากเรือนลาว เมื่อมีความมั่นคงทั้งกำลังคนและทรัพย์จึงสร้างหลังใหม่ โดยใช้วัสดุและเทคนิคที่ทันสมัยรวมถึงรูปแบบงานสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับอาคารของท้องถิ่น ควบคู่กับนโยบายการเผยแผ่ศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์ แสดงถึงการเอาชนะความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องพื้นที่ ในเวลาใกล้เคียงกันสิมวัดสุปัฏนารามกลับทรุดโทรมลง สมัยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงสร้างสิมหลังใหม่ ให้มีขนาดใหญ่โดยช่างกรุงเทพฯ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบผสมทั้งไทย ตะวันตก และการตกแต่งแบบท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิมวัดสุปัฏนารามและอาสนวิหารแม่พระนิรมล ได้แสดงให้เห็นถึงการช่วงชิงความนิยมของศาสนาในพื้นที่ผ่านงานสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์องค์ประกอบตกแต่ง พื้นที่ใช้งานภายในและขนาดอาคารที่เปลี่ยนไป ควบคู่กับการเผยแผ่ศาสนาที่พยายามนำความทันสมัยมาสู่เมืองอุบลราชธานี

Author Biographies

ชเยศ ศรีแก้ว, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษา หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์            มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002

ผศ.ดร. ทรงยศ วีระทวีมาศ , คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์    มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002

References

Barthes, L. (2015).Māyākhati (5th ed.). (in Thai) [Mythologies (W. Angkhasirisapan, Trans)].Bangkok:The Foundation for the Study of Democracy.

Chaiwanitchaya, S., & Hemanak, H. (2013). Kānplīanplǣngthāngsangkhomkhō̜ngmư̄angʻubonrātchathānī Rawāng Phō̜sō̜ Sō̜ngphansīrō̜isāmsiphā- Sō̜ngphanhārō̜iyīsip. (in Thai) [The social changes of Ubon Ratchathani city 1892-1977].Ubon Ratchathani: Faculty of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University.

Chirathatsanakun, S. (1990). Phraʻubōsot læ PhrawihānNaisamaiphrabātsomdetphračhō̜mklaočhaoyūhūa. (in Thai) [Temple in the reign of King Mongkut] (Unpublished master’s thesis). Graduate School, Silpakorn University, Bangkok.

Chirathatsanakun, S. (2004). Rūpbǣpphraʻubōsot læphrawihān Naisamai Phrabātsomdetphračhō̜mklaočhaoyūhūa. (in Thai) [The FormatTemple in the reign of King Mongkut]. Bangkok: Mưangboran.

Diocese of the County Ubon Ratchathani. (2014). Nangsư̄pœ̄t ʻāsonwihānmǣphraniramon ʻUbonrātchathānī. (in Thai) [The book opens Cathedral of Mary Immaculate Ubon Ratchathani]. Ubon Ratchathani: n.p.

Hantrakun, P.and Pornkamipisai, A. (1984). khwām Chư̄a Phrasīʻāri læ Kabotphūmībun Naisangkhomthai. (in Thai) [Beliefs in Sri Arri” and “Merit Rebellion” in Thai society]. Bangkok: Sangsan publisher.

Khomdee, D. (2006).Kān Phœ̄i Phrǣ Sātsanā Khrit Nai Prathed Thai. (in Thai) [The spread of Christianity in Thailand]. Bangkok: Thipaksorn.Naruepiti, V. (2017). Kānmư̄angrư̄angphraphuttharūp. (in Thai) [Politics of Buddha]. Bangkok: Matichon.

Nindach, S. (1998). Prawatsātsathāpattayakamthai. (in Thai) [History of Thai architecture].Bangkok:Thammasat University.

Paknam, N. (1986). khwām Pen Mā khō̜ng Sathūp čhēdī Nai Sayām Prathed. (in Thai) [The story of Stupa in Siam country].Bangkok: Polchai Printing Center.

Palekua, C. (2006).Lao Rư̄ang Krungsiam (3rd ed.). (in Thai) [Siam story (S. Komolabutr, Trans.)].Nonthaburi: Sri Panya.

Sængaramringrote, S. (1993). Nābanphraʻubōsotlæphrawihān Watlūangthammayutiknikāi Naisamaiphrabāmsomdetphra čhō̜mklaočhaoyūhūa læ. (in Thai) [Front of the temple Dhammayuttika Buddhist in the reign of King Mongkut and the king of Chulachomklao] (Unpublished master’s thesis). Graduate School, Silpakorn University, Bangkok.

Sænglimsuwan, W. (1999). Bōkhāthō̜liknaiphākklānglæphāktawanʻō̜kkhō̜ngprathedthai Tangtǣsamaikrungsīyutthayā Thưngphutthasakrāt Sō̜ngphansīrō̜ičhetsiphā. (in Thai) [Catholic Church in the Central region andEastern Thailand from the Ayutthaya period to the Buddhist 2475] (Unpublished master’s thesis). Graduate School, Silpakorn University, Bangkok.

Sanaotkrat, A. (1998).Sanlakhǣngphrasathūp (2nd ed.).(in Thai) [Symbolic of the stupa].Bangkok:Amarin Academic.

Srihaban, K. (2013). kānrūaprūamkhanasongʻīsānkhaokapkhanasongThaiPhō̜.Sō̜.sō̜ngphansīrō̜isāmsipsī-Phō̜.Sō̜.sō̜ngphansīrō̜ihoksippǣt.(in Thai) [The gathering of Isaan monks with Thai monks in 1956-1956] (Unpublished master’ thesis). Thammasat University, Bangkok.

Sumjinda, P. (2014). Thō̜t Rahas Phračhō̜mklao. (in Thai) [Decoder of King Mongkut].Bangkok: Matichon.

Thanee, R. (2003). ʻUbonrātchathānī Phō̜sō̜.sō̜ngphansāmrō̜isāmsiphā-phō̜sō̜sō̜ngphansīrō̜ičhetsiphā(2nd ed.). (in Thai) [Ubon Ratchathani 1792-1932]. Ubon Ratchathani: Rungsin.

Thokæow, P. (1991). Kān Kō̜ Tang læ Khayāi Tūa khō̜ng Thammayutiknikāi Nai Phāk Tawanʻō̜k Chīangnư̄a Phō̜sō̜sō̜ngphansāmrō̜ikāosipsī- Phō̜sō̜sō̜ngphansīrō̜ičhetsipsām. (in Thai) [The establishment and expand theDhammayut sect of Buddhism in Northeast 1851-1930] (Unpublished master’s thesis).Chulalongkorn University, Bangkok.

Thongklom, S. (2013). Watthammayutiknikāi Naičhangwatʻubonrātchathānī.(in Thai)[Temple ofDhammayuttika Buddhist in Ubon Ratchathani] (Unpublished master’s thesis). Graduate School, Silpakorn University.

Tit So Uan, P. (1936).Tam Nān Wat Su Patnārām. (in Thai) [The history of Supatnaram temple].Ubon Ratchathani: n.p.Wiphakphochanakit, T. (2003).Pra Wat Ti Sāt ʻīsān. (in Thai) [History of Northeast]. Bangkok:Thammasat University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29