การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ทรงกิต การีซอ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2020.13

คำสำคัญ:

มหาวิทยาลัยยั่งยืน, มหาวิทยาลัยสีเขียว, พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, ประสิทธิภาพด้านพลังงาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพทางความยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืน ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลางกรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยทำการศึกษาด้วยวิธีการประเมินมหาวิทยาลัยตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World Ranking) เน้นการประเมินในหัวข้อที่ 2 ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันได้แก่ 1.อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.อาคารอัจฉริยะทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 3.พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในมหาวิทยาลัย 4.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 5.อัตราส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนหารด้วยการใช้พลังงานทั้งหมดต่อปี 6.องค์ประกอบของอาคารสีเขียวที่ดำเนินการตามนโยบายการก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 7.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8.ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากาทั้งหมดโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อการประเมินข้อที่ 2 และแสดงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยคำนึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ จากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีคะแนนเฉลี่ยในช่วงระหว่าง 901 ถึง 1,200 คะแนนของกลุ่มช่วงคะแนนที่ 4 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเมื่อได้ทำการประเมินมีคะแนนอยู่ที่ 525 หากดำเนินการตามเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดจะได้รับคะแนน 1,075 คะแนน จึงสามารถขยับจากกลุ่มช่วงคะแนนที่ 3 ไปสู่กลุ่มช่วงคะแนนที่ 4 ได้ ซึ่งการดำเนินงานโดยการตั้งเป้าหมายนั้น ทำให้สามารถเพิ่มคะแนนและเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าเดิมและมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน

References

กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการพัฒนาพลังงานทดแทน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงพลังงาน สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2019 จาก http://e-lib.dede.

go.th/mm-data/BibA11029.pdf

คุณธรรม สันติธรรม. (2548). แนวทางปรับปรุงผังบริเวณและการจัดการสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร วงศ์ยืน และ วิทยา ยงเจริญ. (2558). การปรับปรุงอาคารตามเกณฑ์อาคารเขียวโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทยวารสารการวิจัยพลังงานปีที่สิบสอง ฉบับที่หนึ่ง. กรุงเทพมหานคร : สหสาขาวิชา เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาคภูมิ วินิจสอน. (2561). ประโยชน์ของการประหยัดพลังงานหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2563, จากhttp://203.131.219.167/

km2559/2018/08/16/27704/

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2562). รายงานพลังงานมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ประจำปี พ.ศ. 2562. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิทยา ยงเจริญ. (2558). ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2563 จาก http://www.acat.or.th/download/acat_or_th/journal-1/01%20-%2010%20.pdf

สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ และอาคารประเภท พื้นที่ส่วนกลางและกรอบอาคาร. กรุงเทพมหานคร : สถาบันอาคารเขียวไทย.

องค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจก. (2562). ความรู้ด้านก๊าซเรือนกระจก. กรุงเทพมหานคร : องค์การบริหารการจัดการก๊าซเรือนกระจกองค์กรมหาชน สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563 จาก http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/

Cortese, A. D. (2001). Education University Modeling Sustainability as an Institution. Retrieved December 12 2019, From.www.secondnature.org/pdf/snwritings/articles/univ.odel.pdf

Indonesia University. (2019). UI Green Metric World University Ranking. Retrieved December 12 2019, Fromhttp://greenmetric.ui.ac.id/wp-content/uploads/2015/07/UI_GreenMetric_Guideline_2019_English_1.2.pdf

Madre, C. (2005). Un Decade of Education for Sustainable Development-Student Role and Contribution to make a difference. Paper presented at the Committing. University to Sustainable Development Conference Proceedings.

Shriberg, M.P. (2002). Sustainability and the Role of Systemic Learning. In P. B. W. Corcoran, Arjen E.J (Ed.) Higher Education and Challenge of Sustainability. Problematic. Promise and Practice. (pp. 49-70). Dordrecht. Kluwer Academic Publishers.

United Nation Development Program. (2015). Sustainable Development Golds: SDGs 2015. Retrieved December 12 2019. From www.undp.org/content/undp/en/home.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-12

How to Cite

การีซอ ท., & อิงคโรจน์ฤทธิ์ ว. (2020). การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(3), 23–42. https://doi.org/10.14456/bei.2020.13