ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิม กรณีศึกษาชุมชนคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2020.12คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, ชุมชนดั้งเดิม, คลองแควอ้อมบทคัดย่อ
การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิม กรณีศึกษาชุมชนคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่มีผลต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชน และสรุปบริบททางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนคลองแควอ้อมที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิมจังหวัดสมุทรสงคราม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และเทคนิคการวิเคราะห์ โดยการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบพื้นฐานของชุมชนดั้งเดิมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ ประเด็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) ลักษณะทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศ ของชุมชนดั้งเดิมคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ในเขตระบบนิเวศน้ำจืดที่เชื่อมต่อกับระบบนิเวศน้ำกร่อยอันเป็นรอยต่อของระบบนิเวศที่มีความเปราะบางและมีความเฉพาะตัวสูง ประกอบกับระบบน้ำและลมที่ได้รับอิทธิพลจากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดระบบน้ำขึ้น-น้ำลง และมีความหลากหลายทางชีวภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิด (2) รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน บริเวณริมน้ำสองฝั่งคลองแควอ้อมแบบแนวยาวตามแนวเส้นทางคมนาคม (Linear settlement) ในรูปแบบของการอยู่อาศัย และการขยายที่ดินทำกินนอนเพื่อดูแลพื้นที่เกษตรกรรมของตนกลายเป็นชุมชนริมน้ำบริบทสวนแบบยกร่องสูง อันสะท้อนการจัดการรูปแบบของพื้นที่เพื่อการอยู่รอดของมนุษย์และยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามลำดับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ (3) ระบบกิจกรรม ถือเป็นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดโดยตรงมาจากวิถีชีวิตและภูมิหลังทางวัฒนธรรม และจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากพื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรมและเวลา โดยรูปแบบของการใช้พื้นที่เกษตรกรรมสวนแบบยกร่องสูงทำให้เกิดกิจกรรมเชิงธุรกิจและกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในวิถีชีวิตและพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ครอบครัว และสังคมที่มีการกระทำสืบต่อกันมา รวมถึงสื่อให้เข้าใจถึงระบบสังคมของการอยู่ร่วมกันและการพึ่งพากัน และองค์ประกอบสุดท้าย คือ (4) วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความคิดความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อสภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคมและอื่นๆ อันก่อให้เกิดเป็นโลกทัศน์ที่มนุษย์สามารถตีออกมาเป็นคุณค่า แล้วเลือกคุณค่านั้นมาเป็นค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติและดำเนินชีวิตในสังคมเรียกว่า “วัฒนธรรมชาวสวน” จากเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ชุมชนคลองแควอ้อมเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีบริบททางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนริมนน้ำในเขตระบบนิเวศน้ำจืดที่มีกลุ่มวัฒนธรรมชาวสวนเป็นตัวแทน มีพื้นที่ระบบนิเวศน้ำจืดเป็นสื่อกลาง และมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นผลลัพธ์ที่ส่งผลสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิม จังหวัดสมุทรสงคราม
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2559). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี. กรุงเทพมหานคร: กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เชิดศักดิ์ บุษบก. ชุมชนคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม. สัมภาษณ์โดย ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง. 15 พฤศจิกายน 2562.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2542). เส้นแม่ น้ำสายสำคัญในประเทศไทย, จาก ลุ่ม น้ำแม่กลองประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ “เครือข่าย” มอญ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
เทพ สุนทรศารทูล. (ม.ป.ป.). เสด็จประพาสเมืองสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองธรรม.
นิธิกาญจน์ จีนใจตรง. (2555). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนริม น้ำคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม.
ปริญญาผังเมืองมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2552). ชุมชนปฏิบัติทางด้านการเรียนรู้ : แนวคิด เทคนิค และกระบวนการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วณี สมิงนาวิน. ชุมชนคลองแควอ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม. สัมภาษณ์โดย ชนิธิกาญจน์ จีนใจตรง. 15 พฤศจิกายน 2562.
ศรีศักร วัลลิโภดม, (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
ศรีศักร วัลลิโภดม, (2547). ลุ่ม น้ำแม่กลอง : ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ “เครือญาติ” มอญ. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: มติชน.
สถาปัตยกรรมศาสตร์และการเมือง, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยมาตรฐานที่อยู่อาศัยและชุมชนเพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณค่าของเมือง. กรุงเทพมหานคร: การเคหะแห่งชาติ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
(ม.ป.ป.). คู่มือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเภทย่านชุมชนเก่า. (ม.ป.ท: ม.ป.พ.). สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภ WH 2-200 (25). รูปถ่ายทางอากาศชุด Williams Hunt จังหวัดสมุทรสงคราม.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). ชื่อบ้านนามเมือง ลุ่ม น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
สุรจิต ชิรเวทย์. (2549). คนแม่กลอง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เอเชียเพรส (1989) จำกัด.
สมใจ นิ่มเล็ก. (2545). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น “เรือนชาวสวน”. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Glaser, B., & Strauss, A. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. Mill Valley, CA: Sociology Press.
Lennon, J. & Steve, M. (1996). Cultural landscape management: guidelines for identifying, assessing and managing cultural landscapes in the Australian Akps national parks.
Canberra, A.C.T.: Australian Alps Liason Committee.
Rapoport, A. (1994). Humanity Culture and Social Life. In Tim Ingold (Ed), Companion encyclopedia of anthropology: Humanity, culture and social life”. New York: Routledge. Sauer, C.O. (1925). The Morphology of Landscape. Berkeley: University of California Press. Vogeler, I. (2010).
Critical Cultural Landscape. [Online]. Retrieved September 11, 2019, from https://people.uwec.edu/ivogeler/CCL-bookchapters-pdf/index.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ